วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทบาทพระมหากษัตริย์ไทย สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อการพัฒนาชาติไทย



ด้านการเมือง


สถาบัน พระมหากษัตริย์ได้มีบทบาทเกี่ยวกับการเมืองการปกครองการรวมชาติ การสร้างเอกราช การวางรากฐานการเมืองการปกครอง การสร้างเสถียรภาพทางการเมืองการปกครอง การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินตั้งแต่อดีตสืบต่อมาตลอดปัจจุบันบทบาทของพระมหา กษัตริย์มีส่วนช่วยสร้างเอกภาพของประเทศเป็นอย่างมาก คนไทยทุกกลุ่มไม่ว่าศาสนาใดมีขนบธรรมเนียมแตกต่างกันอย่างไรก็มีความรู้สึก ร่วมในการมีพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน การเสด็จออกเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆ แม้ท้องถิ่นทุรกันดาร หรือมากด้วยภยันตรายอยู่ตลอดเวลา ทำให้ราษฎรมีขวัญและกำลังใจดี มีความรู้สึกผูกพันกับชาติว่ามิได้ถูกทอดทิ้ง พระราชกรณียกิจดังกล่าวของพระองค์มีส่วนช่วยในการปกครองเป็นอย่างมาก

พระ ราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์นั้นมีมาก และล้วนก่อประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อส่วนรวมทั้งสิ้น แม้การปฏิบัติพระราชกรณียกิจจะเป็นพระราชภาระอันหนัก แต่ก็ได้ทรงกระทำอย่างครบถ้วนสม่ำเสมอ จนกระทั่งสามารถที่จะผูกจิตใจของประชาชนให้เกิดความจงรักภักดี เพาะตระหนักถึงน้ำพระทัยของพระองค์ว่า ทรงเห็นแก่ประโยชน์สุขของส่วนรวมมากกว่าพระองค์เอง ทรงเสียสละยอมทุกข์ยากเพื่อบ้านเมืองอย่างแท้จริงดังพระราชปณิธานของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม


ด้านเศรษฐกิจ


การ พัฒนาและการปฏิรูปที่สำคัญๆ ของชาติส่วนใหญ่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปูพื้นฐานประชาธิปไตย โดยการจัดตั้งกระทรวงต่างๆ ทรงส่งเสริมการศึกษาและเลิกทาส ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ทรงเกื้อหนุนวิทยาการสาขาต่างๆ ทรงสนับสนุนการศึกษาและศิลปวัฒนาธรรม ทรงริเริ่มกิจการอันเป็นการแก้ปัญหาหลักทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยจะเห็นว่าโครงการตามพระราชดำริส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาหลักทางเกษตรกรรม เพื่อชาวนา ชาวไร่ และประชาชนผู้ยากไร้และด้อยโอกาสอันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น โครงการฝนหลวง ชลประทาน พัฒนาที่ดิน พัฒนาชาวเขา เป็นต้น


ด้านสังคมและวัฒนธรรม


พระ มหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขและความ เจริญแก่สังคม ได้ทรงริเริ่มโครงการต่างๆ ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พระราชดำริและโครงการที่ทรงริเริ่มมีมากซึ่งล้วนแต่เป็นรากฐานในการพัฒนา ชาติทั้งสิ้น โครงการของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่สำคัญ ได้แก่ โครงการอีสานเขียว โครงการฝนหลวง โครงการปลูกป่า โครงการขุดคลองระบายน้ำ โครงการปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดในเมืองใหญ่ โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ทรงทำเป็นแบบอย่างที่ดีประชาชนและหน่วยราชการนำไปปฏิบัติก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางการพัฒนาชาติขึ้นมาก นอกจากนี้ทรงทำให้เกิดความคิดในการดำรงชีวิตแบบใหม่ เช่น การประกอบอาชีพ การใช้วิทยาการมาช่วยทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น


ด้านการต่างประเทศ


พระ มหากษัตริย์ในอดีตได้ทรงดำเนินวิเทโศบายได้อย่างดีจนสามารถรักษาเอกราชไว้ ได้ โดยเฉพาะสมัยการล่าเมืองขึ้นในรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันก็ทรงดำเนินการให้เกิดความ เข้าใจอันดี ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศต่างๆ กับประเทศไทย โดยเสด็จพระราชดำเนินเป็นทูตสันถวไมตรีกับประเทศต่างๆ ไม่น้อยกว่า 31 ประเทศ ทำให้นโยบายต่างประเทศดำเนินไปอย่างสะดวกและราบรื่น นอกจากนั้นยังทรงเป็นผู้แทนประเทศไทยต้อนรับประมุขประเทศ ผู้นำประเทศ เอกอัครราชทูต และทูตสันถวไมตรีจากต่างประเทศอีกด้วย 

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน



สังคมไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
หลังการปฏิวัติเปลี่ยน แปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475 ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ขึ้นครองราชย์นั้น สังคมไทยได้ก้าวสู่ความเป็นอารยะตามแบบตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเจริญที่ปรากฏอยู่ในรูปของวัตถุไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง รถไฟ ไฟฟ้า ประปา เขื่อนชลประทาน โรงพยาบาล ระบบการสื่อสารคมนาคม ที่ทำการรัฐบาล ห้างร้าน และตึกรามบ้านช่อง ตลอดจนเครื่องใช้อันทันสมัย อันมีเจ้านายและชนชั้นสูงเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ส่วนชาวบ้านสามัญชนเป็นผู้ตาม นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงในขนบธรรมเนียมบางอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับ การปกครองระบบใหม่ ทั้งนี้เพราะรัฐบาลต้องติดต่อกับชาติอื่น ๆ ทั่วโลก จึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยให้เป็นสากลและสอดคล้องกับความเป็นไป ของโลก แต่ให้คงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยไว้ที่เด่นชัดในสมัยนั้นก็คือเรื่องการแต่ง กายในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ( พ.ศ. 2481-2487 ) ได้มีบัญญัติเรียกว่า “ รัฐนิยม “ ซึ่งเป็นการปลุกระดมอย่างรุนแรง ซึ่งแสดงนโยบายของประเทศว่าต้องการให้ประชาชนคนไทยรักหวงแหนและภูมิใจในความ เป็นไทย เช่น ให้ข้าราชการแต่งเครื่องแบบตามที่กำหนด ห้ามสวมกางเกงแพร ให้ทักทายกันด้วยคำว่า “ สวัสดี “ ห้ามกินหมาก ให้สวมหมวกทุกครั้งที่ออกจากบ้าน ใช้คำขวัญปลุกใจทุกเช้าก่อนเรียน การยกเลิกบรรดาศักดิ์โดยให้ใช้เพียงชื่อ สกุล เหมือนคนทั่วไป การเคารพธงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงมหรสพ ฯลฯ
สภาพสังคมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ คือ
ประชาชนขึ้นมาเป็นเจ้าของประเทศและมีบทบาทในการปกครองประเทศด้วยกระบวนการกฎหมา
ชนชั้นกลาง พวกพ่อค้า ปัญญาชน ขึ้นมามีบทบาทในสังคมแต่ผู้กุมอำนาจยังคงได้แก่ทหารและข้าราชการ
นายทุนเติบโตจากการค้าและอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วพร้อมทั้งมีอิทธิพลและบทบาทจนได้เปรียบในสังคม
เกิดช่องว่างในสังคมทำให้ชาวไร่ ชาวนา และกรรมกรมีฐานะและชีวิตอยู่กับความยากจนและถูกเอารัดเอาเปรียบจากสังคม

พัฒนาการชาติไทยสมัยรัชกาลที่ 4,5,6,7 ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

1. ในสมัยรัชการที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนแปลงนโยบาย ต่างประเทศ มาเป็นการคบค้ากับชาวตะวันตก เพื่อความอยู่รอดของชาติ เนื่องจากทรงตระหนักถึงภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่งกำลังคุกคามประเทศต่าง ๆ อยู่ในขณะนั้น

2. จุดเริ่ิมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ คือ การทำสนธิสัญญาเบาริง กับอังกฤษ ใน พ.ศ. 2398 โดยพระนางเจ้าวิกตอเรีย ได้แต่งตั้งให้ เซอร์ จอห์น เบาริง เป็นราชทูตเข้ามาเจรจา

3. สาระสำคัญของสนธิสัญเบาริง มีดังนี้
o อังกฤษขอตั้งสถานกงสุลในประเทศไทย
o คนอังกฤษมีสิทธิเช่าที่ดินในประเทศไทยได้
o คนอังกฤษสามารถสร้างวัด และเผยแพร่คริสต์ศาสนาได้
o เก็บภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละ 3
o พ่อค้าอังกฤษและพ่อค้าไทยมีสิทธิค้าขายกันได้โดยเสรี
o สินค้าต้องห้าม ได้แก่่ ข้าว ปลา เกลือ
o ถ้าไทยทำสนธิสัญญากับประเทศอื่น ๆ ที่มีผลประโยชน์เหนือประเทศ อังกฤษ จะต้องทำให้อังกฤษด้วย
o สนธิสัญญานี้ จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จนกว่าจะใช้แล้ว 10 ปี และในการแก้ไข ต้องยินยอมด้วยกันทั้งสองฝ่าย และ ต้องบอกล่วงหน้า 1 ปี

4. ผลของสนธิสัญญาเบาริง
o ผลดี
1. รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
2. การค้าขยายตัวมากขึ้น เปลี่ยนแปลงการค้าเป็นแบบเสรี
3. อารยธรรมตะวันตก เข้ามาแพร่หลาย สามารถนำมาปรับปรุงบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้ามาขึ้น
o ผลเสีย
1. ไทยเสียสิทธิทางการศาลให้อังกฤษ และคนในบังคับอังกฤษ
2. อังกฤษ เป็นชาติที่ได้รับสิทธิพิเศษหลายอย่าง
3. อังกฤษ เป็นฝ่ายได้เปรียบ จึงไม่ยอมทำการแก้ไข

ผล จากการทำสนธิสัญญาเบาริง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้สภาพสังคมไทย เปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อนำประเทศให้เจริญก้าวหน้า ตามแบบอารยธรรมตะวันตก การเปลี่ยนแปลง ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้

1.ด้านการปกครอง
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเพณีบางอย่าง เพื่อให้ราษฎร มีโอกาสใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ คือ เปิดโอกาสให้ราษฎร เข้าเฝ้าได้โดยสะดวก ให้ราษฎรเข้าเฝ้าถวายฎีการ้องทุกข์ได้ ในขณะที่ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ครั้งสำคัญ โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การปรับปรุงในระยะแรก ให้ตั้งสภา 2 สภา คือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และ สภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council) กับการปรับปรุงการปกครอง ในระยะหลัง (พ.ศ. 2435) ซึ่งนับว่า เป็นการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยมีลักษณะ คือ การปกครองส่วนกลาง โปรดให้ยกเลิกการปกครอง แบบจตุสดมภ์ และ จัดแบ่งหน่วยราชการเป็นกรมต่าง ๆ 12 กรม (กะรทรวง) มีเสนาบดีเป็นเจ้ากระทรวง การปกครองส่วนภูมิภาค ทรงยกเลิก การจัดหัวเมืองที่แบ่งเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี และจัตวา เปลี่ยนการปกครองเป็น เทศาภิบาล ทรงโปรดให้รวมเมืองหลายเมืองเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ปกครอง ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย กับทรงแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด (เมือง) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน และการปกครองส่วนท้องถิ่น เริ่มจัดการทดลองแบบ สุขาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรก

2. ด้านเศรษฐกิจ
ภาย หลังการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้ว การค้าของไทยเจริญก้าวหน้าขึ้น มาก ทำให้มีการปรับปรุงด้านเศรษฐกิจ เช่น ในรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนการใช้เงินพดด้วงมาเป็นเงินเหรียญ และขุดคลอง ตัดถนนเพิ่มขึ้นหลายสาย ในสมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนมาตราเงินไทยมาใช้ระบบทศนิยม ใช้ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแทนเงิน ให้ใช้เหรียญบาท สลึง และเหรียญสตางค์แทนเงินแบบเดิม มีการจัดตั้งธนาคารของเอกชนขึ้นเป็นครั้งแรก คือ แบางก์สยามกัมมาจล (ปัจจุบัน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์) ในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดให้ตั้งคลังออมสินขึ้น (ปัจจุบันคือ ธนาคารออมสิน)

3.ด้านวัฒนธรรม
ใน สมัยรัชกาลที่ 4 ทรงประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า ทรงให้เสรีภาพประชาชน ในการนับถือศาสนาและประกอบอาชีพ โปรดให้สตรีได้ยกฐานให้สูงขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการสวมเสื้อราชปะแตก และสวมหมวกอย่างยุโรป ให้ข้าราชการทหารแต่งเครื่องแบบ ตามแบบตะวันตก โปรดให้ผู้ชายในราชสำนัก ไว้ผมทรงมหาดไทย เปลี่ยนมาไว้ผมตัดยาวทั้งศีรษะแบบฝรั่ง โปรดให้ผู้หญิงเลิกไว้ผมปีก ให้ไว้ผมตัดยาว ที่เรียกว่า "ทรงดอกกระุุทุ่ม" ทรงแก้ไขประเพณีการสืบสันตติวงศ์ โดยยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แล้วโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ขึ้น ทรงเลิกประเพณีหมอบคลานเข้าเฝ้า และให้ยืนเข้าเฝ้าแทน ยกเลิกการโกนผม เมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคต ยกเลิกการไต่สวนคดีแบบจารีตนครบาล และที่สำคัญที่สุด ที่พระองค์ทรงได้พระราชสมัญญานาม ว่า "พระปิยมหาราช" ซึ่งแปลว่า มหาราชที่ทรงเป็นที่รักของประชาชน คือการยกเลิกระบบไพร่ และระบบทาส ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัตินามกสุล โปรดให้ใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชทางราชการ แทนรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เปลี่ยนแปลงการนับเวลาทางราชการ ให้สอดคล้องกับสากลนิยม โปรดให้กำหนดคำนำหน้าชื่อเด็กหญิง เด็กชาย นางสาว และนาง เปลียนแปลงธงประจำชาติ จากธงรูปช้างเผือก มาเป็นธงไตรรงค์ ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ ตามแบบประเทศยุโรป


4.สภาพสังคม
การ เลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงดำริว่า การที่ประเทศไทยมีชนชั้นทาสมากเท่ากับเป็นการเสียเศรษฐกิจของชาติ และทำให้ต่างชาติดูถูกและเห็นว่าประเทศไทยป่าเถื่อนด้อยความเจริญ ซึ่งมีผลทำให้ประเทศมหาอำนาจต่างๆ คิดจะเข้าครอบครองไทย โดยอ้างว่า เพื่อช่วยพัฒนาประเทศไทยให้ทัดเทียมประเทศอื่นๆ ที่เจริญแล้วทั้งหลาย
ดัง นั้น ใน พ.ศ.2417 พระองค์จึงทรงเริ่มออกพระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทขึ้น โดยกำหนดค่าตัวทาสอายุ 7-8 ปี มีค่าตัวสูงสุด 12-14 ตำลึง แล้วลดลงเรื่อยๆ เมื่อมีอายุ 21 ปี ค่าตัวจะเหลือเพียง 3 บาท ซึ่งทำให้ทาสมีโอกาสไถ่ตัวเป็นไทได้มากและใน พ.ศ.2420 พระองค์ทรงบริจาคเงินจำนวนหนึ่งเพื่อไถ่ตัวทาสที่อยู่กับเจ้านายมาครบ 25 ปี จำนวน 45 คน พ.ศ.2443 ทรงออกกฎหมายให้ทาสสินไถ่อายุครบ 60 ปี พ้นจากการเป็นทาสและห้ามขายตัวเป็นทาสอีก พ.ศ.2448 ออกพระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124 บังคับทั่วประเทศ ห้ามมีการซื้อทาสต่อไป ให้ลดค่าตัวลงเดือนละ 4 บาท จนครบจำนวนเงิน และให้บรรดาทาสเป็นไททั้งหมด
การเลิกทาสของพระองค์ ประสบความสำเร็จอย่างดี เป็นเพราะพระปรีชาญาณและพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ทรงใช้ทางสายกลาง ค่อยๆดำเนินงานไปทีละขั้นตอน ทำให้ไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงดังเช่นประเทศต่างๆ ที่เคยประสบมา

พัฒนาการชาติไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

พัฒนาการชาติไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๔๓๕)

สภาพ ทางการเมืองในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงรูปแบบของระบบประชาธิปไตยอันเป็นระบบการปกครองที่สืบทอดมาช้านาน การเปลี่ยนแปลงภายในตัวระบบอยู่ที่การปรับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดที่ทำหน้าที่ปกครองประเทศ รูปแบบของสถาบ้นกษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คลายความเป็นเทวราชาลงเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็กลับเน้นคติและรูปแบบของธรรมราชาขึ้นแทนที่ อย่างไรก็ตาม อำนาจอันล้นพ้นของพระมหากษัตริย์ก็มีอยู่แต่ในทางทฤษฎี เพราะในทางปฏิบัติ พระราชอำนาจของพระองค์กลับถูกจำกัดลงด้วยคติธรรมในการปกครอง ซึ่งอิงหลักธรรมของพุทธศาสนา คือ ทศพิธราชธรรม กับอีกประการหนึ่ง คือ การถูกแบ่งพระราชอำนาจตามการจัดระเบียบควบคุมในระบบไพร่ ซึ่งถือกันว่า พระมหากษัตริย์คือมูลนายสูงสุดที่อยู่เหนือมูลนายทั้งปวง แต่ในทางปฏิบัติพระองค์ก็มิอาจจะควบคุมดูแลไพร่พลเป็นจำนวนมากได้ทั่วถึง จึงต้องแบ่งพระราชอำนาจในการบังคับบัญชากำลังคนให้กับมูลนายในระดับรองๆ ลงมา ในลักษณะเช่นนั้น มูลนายที่ได้รับมอบหมายให้กำกับไพร่และบริหารราชการแผ่นดินต่างพระเนตรพระ กรรณ จึงเป็นกลุ่มอำนาจมีอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกลุ่มใดจะมีอำนาจเหนือกลุ่มใดก็แล้วแต่สภาพแวดล้อมของสังคมในขณะนั้น เป็นสำคัญ
การปกครองและการบริหารประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กล่าวได้ว่า รูปแบบของการปกครอง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังคงยึดตามแบบฉบับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงวางระเบียบไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เพียงเล็กน้อย เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดฯ ให้คืนเขตการปกครองในหัวเมืองภาคใต้กลับให้สมุหกลาโหมตามเดิม ส่วนสมุหนายกให้ปกครองหัวเมืองทางเหนือ ส่วนพระคลังดูแลหัวเมืองชายทะเล ในด้านระบบการบริหาร ก็ยังคงมีอัครมหาเสนาบดี ๒ ฝ่าย คือ สมุหนายกเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ และสมุหกลาโหม เป็นหัวหน้าราชการฝ่ายทหาร ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ตำแหน่งรองลงมาคือ เสนาบดีจตุสดมภ์ แบ่งตามชื่อกรมที่มีอยู่คือ เวียง วัง คลังและ นา ในบรรดาเสนาทั้ง ๔ กรมนี้ เสนาบดีกรมคลังจะมีบทบาทและภาระหน้าที่มากที่สุด คือนอกจากจะบริหารการคลังของประเทศแล้ว ยังมีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลตะวันออก เสนาบดีทั้งหลายมีอำนาจสั่งการภายในเขตความรับผิดชอบของตน รูปแบบที่ถือปฏิบัติก็คือ ส่งคำสั่งและรับรายงานจากเมืองในสังกัดของตน ถ้ามีเรื่องร้ายที่เกิดขึ้น เสนาบดีเจ้าสังกัดจะเป็นแม่ทัพออกไปจัดการเรื่องต่างๆ ให้เรียบร้อย มีศาลของตัวเองและสิทธิในการเก็บภาษีอากรในดินแดนสังกัดของตน รวมทั้งดูแลการลักเลขทะเบียนกำลังคนในสังกัดด้วย
การบริหารในระดับต่ำลง มา อาศัยรูปแบบการปกครองคนในระบบไพร่ คือ แบ่งฝ่ายงานออกเป็นกรมกองต่างๆ แต่ละกรมกอง มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการควบคุมกำลังคนในสังกัดของตน โครงสร้างของแต่ละกรม ประกอบด้วยขุนนางข้าราชการอย่างน้อย ๓ ตำแหน่ง คือ เจ้ากรม ปลัดกรม และสมุห์บัญชี กรมมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก กรมใหญ่มักเป็นกรมสำคัญ เจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์ถึงขนาดเจ้าพระยาหรือพระยา
กรม ของเจ้านายที่มีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ กรมของพระมหาอุปราช ซึ่งเรียกกันว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมของพระองค์มีไพร่พลขึ้นสังกัดมาก กรมของเจ้านายมิได้ทำหน้าที่บริหารราชการโดยตรง ถือเป็นกรมที่ควบคุมกำลังคนเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น การแต่งตั้งเจ้านายขึ้นทรงกรมจึงเป็นการให้ทั้งความสำคัญ เกียรติยศ และความมั่นคงเพราะไพร่พลในครอบครองเป็นเครื่องหมายแสดงถึงอำนาจและความ มั่งคั่งของมูลนายผู้เป็นเจ้าของการบริหารราชการส่วนกลาง มีพระมหากษัตริย์เป็นมูลนายระดับสูงสุด เจ้านายกับขุนนางข้าราชการผู้บังคับบัญชากรมต่างๆ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ฐานะเป็นมูลนายในระดับสูง ช่วยบริหารราชการ โดยมีนายหมวด นายกอง เป็นมูลนายระดับล่างอยู่ใต้บังคับบัญชา และทำหน้าที่ควบคุมไพร่อีกต่อหนึ่ง การสั่งราชการจะผ่านลำดับชั้นของมูลนายลงมาจนถึงไพร่
สำหรับการปกครองใน ส่วนภูมิภาคหรือการปกครองหัวเมือง ขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดี ๒ ท่าน และเสนาบดีคลัง ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น หัวเมืองแบ่งออกเป็นสองชั้นใหญ่ๆ ได้แก่ หัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นนอก การแบ่งหัวเมืองยังมีอีกวิธีหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น ๔ ขั้น คือ เอก โท ตรี จัตวา ตามความสำคัญทางยุทธศาสตร์และราษฎร
หัวเมืองชั้นใน เป็นหน่วยปกครองที่อยู่ใกล้เมืองหลวง มีเจ้าเมืองหรือผู้รั้ง ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าปกครองดูแล
หัว เมืองชั้นนอก มีทั้งหัวเมืองใหญ่ หัวเมืองรอง และหัวเมืองชายแดน หัวเมืองเหล่านี้ อยู่ใต้การปกครองของเจ้าเมือง และข้าราชการในเมืองนั้นๆ
นโยบาย ที่ใช้ในการปกครองหัวเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความกระชับยิ่งขึ้น กล่าวคือ รัชกาลที่ ๑ ได้ทรงออกพระราชกำหนดตัดทอนอำนาจเจ้าเมืองในการแต่งตั้งข้าราชการที่สำคัญๆ ทุกตำแหน่ง โดยโอนอำนาจการแต่งตั้งจากกรมเมืองในเมืองหลวง นับเป็นการขยายอำนาจของส่วนกลาง โดยอาศัยการสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นกับเจ้านายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งเจ้าเมือง และข้าราชการที่แต่งตั้งตนในส่วนกลาง ตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ต้องรายงานตัวต่อผู้ตั้งทุกปี ทั้งนี้เพื่อผลในการควบคุมไพร่พลและเกณฑ์ไพร่มาใช้ เพราะฉะนั้น มูลนายในเมืองหลวงจึงได้ควบคุมสัสดีต่างจังหวัดอย่างใกล้ชิด
ส่วนการ ปกครองในประเทศราช เช่น ลาว เขมร มลายู นั้น ไทยใช้วิธีปกครองโดยทางอ้อม ส่วนใหญ่จะปลูกฝังความนิยมไทยลงในความรู้สึกของเจ้านายเมืองขึ้น โดยการนำเจ้านายจากประเทศราชมาอบรมเลี้ยงดูในฐานะพระราชบุตรบุญธรรมของพระ มหากษัตริย์ในราชสำนักไทยหรือสนับสนุนให้มีการแต่งงานกันระหว่างเจ้านายทั้ง สองฝ่าย และภายหลังก็ส่งเจ้านายพระองค์นั้นไปปกครองเมืองประเทศราช ด้วยวิธีนี้ จึงทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันกันขึ้นระหว่างกษัตริย์ไทยกับเจ้านายเมืองขึ้น การปกครอง หรือการขยายอำนาจอิทธิพลในอาณาจักรต่างๆ เหล่านี้ ฝ่ายไทยและประเทศราชไม่มีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ขึ้นกับอำนาจความมั่นคงของราชอาณาจักรไทย เพราะฉะนั้น ในช่วงใดที่ประเทศอ่อนแอ เมืองขึ้นก็อาจแข็งเมืองหรือหันไปหาแหล่งอำนาจใหม่ เพราะฉะนั้น เมื่ออำนาจตะวันออกแผ่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนเอเซียอาคเนย์ ปัญหาเรื่องอิทธิพลในเขตแดนต่างๆ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเวลาทำความตกลงกัน
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอย่างขนานใหญ่ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป การปฏิรูปเศรษฐกิจ ก็ได้แก่ การปรับปรุงระบบบริหารงานคลังและภาษีอากร ส่วนการปฏิรูปสังคมก็ได้แก่ การเลิกทาส การปฏิรูปการศึกษา รวมทั้งการปรับปรุงการสื่อสาร และการคมนาคม เป็นต้น
สำหรับมูลเหตุสำคัญที่ผลักดันให้มีการปฏิรูปการปกครอง มีอยู่ ๒ ประการ คือ
๑.มูล เหตุภายใน ทรง พิจารณาเห็นว่าการปกครองแบบเดิมไม่เหมาะสมกับสภาพทางการปกครองและทางสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้น การคมนมคมและการติดต่อสื่อสารเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น การปกครองแบบเดิมจะมีผลทำให้ประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง ขาดประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและพัฒนาได้ยาก
๒.มูลเหตุภายนอก ทรง พิจารณาเห็นว่า หากไม่ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมจะเป็นอันตรายต่อเอกราชของชาติ เพราะขณะนั้น จักวรรดินิยมตะวันตก ได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคมในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้น แต่เดิมเราต้องยินยอมให้ประเทศตะวันตกหลายประเทศมีสิทธิภาพนอกอาณาเขตคือ สามารถตั้งศาลกงสุลขึ้นมาพิจารณาความคนในบังคับของตนได้ โดยไม่ต้องอยู่ใต้การบังคับของศาลไทย เพราะอ้างว่า ศาลไทยล้าสมัย

โครงงานทางประวัติศาสตร์


โครงงานประวัติศาสตร์ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ตามรอยเท้าบรรพชน คนชุมพลบุรี จัดทำเพื่อส่งเสริมให้มีการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความรู้ และความรู้รักสามัคคีของคนภายในท้องถิ่น โดยวิธีการศึกษาได้นำเอากระบวนการแสวงหาความรู้ทางประวัติศาสตร์โดยใช้วิธี การทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นวิธีที่นักประวัติศาสตร์ใช้อยู่มาเพื่อแสวงหาคำตอบในสิ่งที่ตนเกิด ความสงสัย โดยตั้งเป้าหมายของการศึกษา เพื่อศึกษาประวัติการตั้งถิ่นฐานของคนชุมพลบุรี และเพื่อศึกษาเส้นทาง การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานใน 9 ตำบล 95 หมู่บ้านของอำเภอชุมพลบุรี

วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
1. เพื่อศึกษาการก่อตั้งชุมชนของอำเภอชุมพลบุรี
2. เพื่อศึกษาเส้นทางการอพยพเข้ามาเพื่อก่อตั้งหมู่บ้านของคนในอำเภอชุมพลบุรี

ขอบเขตของการสำรวจ
1. เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอชุมพลบุรี 9 ตำบล 95 หมู่บ้าน จาก 122 หมู่บ้านของอำเภอชุมพลบุรี

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
1. สมุดบันทึก
2. ปากกา
3. กล้องบันทึกภาพ
4. แบบสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน
5. คอมพิวเตอร์ / อินเตอร์เน็ต
พื้นที่สำรวจ 9 ตำบล 95 หมู่บ้าน
1. ชุมพลบุรี (Chumphon Buri) 22 หมู่บ้าน
2. นาหนองไผ่(Na Nong Phai) 7 หมู่บ้าน
3. ไพรขลา (Phrai Khla) 8 หมู่บ้าน
4. ศรีณรงค์ (Si Narong) 12 หมู่บ้าน
5. ยะวึก (Yawuek) 11 หมู่บ้าน
6. เมืองบัว (Mueang Bua) 16 หมู่บ้าน
7. สระขุด (Sa Khut) 11 หมู่บ้าน
8. กระเบื้อง (Krabueang) 7 หมู่บ้าน
9. หนองเรือ (Nong Ruea) 1 หมู่บ้าน

การวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อคณะสำรวจศึกษาเอกสาร และลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล ภาพถ่าย แบบสัมภาษณ์มาแล้ว ได้นำข้อมูลเหล่านี้มาจัดกระทำดังนี้
1. วิเคราะห์ชนิดและประเภทของหลักฐาน
2. วิเคราะห์ประเภทและแหล่งที่มาของข้อมูล
3. วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของหลักฐานและข้อมูล

อภิปรายผลจากการทำโครงงาน
1. ลักษณะการตั้งชุมชน
ผลจากการสำรวจสามารถวิเคราะห์การตั้งชุมชนของอำเภอชุมพลบุรี ได้ว่า การตั้งชุมชนเป็นไปใน 2 ลักษณะ คือ
1. การย้ายลงจากเนินดินเดิมหรือชุมชนโบราณเดิมเพื่อตั้งชุมชนใหม่ เนื่องจากเนินดินเดิมแออัด และบางชุมชนย้ายเพราะความกลัวผีสาง นางไม้
2. การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนจากอำเภอใกล้เคียงที่อยู่โดยรอบ เช่นอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอพุทไธสง อำเภอวาปีปทุม อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอท่าตูม อำเภอเมืองสุรินทร์ซึ่งมีสาเหตุของการอพยพ คือ การแสวงหาที่ทำกินใหม่ที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิม
การตั้งชุมชนในเขตอำเภอชุมพลบุรี สามารถแบ่งระยะของการตั้งชุมชน ได้เป็น 2 ระยะ คือ
1.1 ระยะที่ 1 การตั้งชุมชนในสมัยโบราณ
ลักษณะ การตั้งชุมชนสมัยโบราณของอำเภอชุมพลบุรี ที่มีอายุสมัยตั้งแต่ 4,000 -1,500 ปี จากการสำรวจ พบว่าชุมชนเหล่านี้ตั้งอยู่บนเนินดินสูงมาก่อน ต่อมาได้กลายเป็นชุมชนร้าง ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ เนื่องจากบางแห่งเกิดจากความเชื่อเรื่องผีสาง นางไม้ บางแห่งเกิดภัยธรรมชาติ ฟ้าผ่าบ่อยๆ เช่นชุมชนวังฟ้าผ่า บางแห่งเกิดจากโรคระบาด ทำให้ผู้คนอพยพหนีออกไป บางหมู่บ้านคนอพยพหนีสัตว์ร้าย เช่นที่บ้านไพรขลา หรืออาจเกิดจากพื้นที่ไม่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินเอือด(ดินเกลือ) ทำไร่นาและปลูกพืชผลไม่ได้ และเริ่มมีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งหมู่บ้านใหม่ เมื่อประมาณ 200 – 20 ปีที่ผ่านมานี่เอง ส่วนช่วงเวลาที่หายไป คือช่วงที่เป็นชุมชนร้าง มีเพียงบางชุมชนเท่านั้นที่มีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอด โดยไม่กลายสภาพเป็นชุมชนร้าง เช่น ชุมชนเมืองบัว ชุมชนยะวึก ชุมชนหัวนาคำ ชุมชนสำโรง ชุมชนทัพค่าย ชุมชนตึกชุม ซึ่งชุมชนเหล่านี้ต่อมามีพัฒนาการการย้ายลงจากเนินดินเดิมเพื่อตั้งชุมชน สมัยใหม่ขึ้นมา
1.2 ระยะที่ 2 การตั้งหมู่บ้านสมัยใหม่
จากการสำรวจ พบว่าหมู่บ้านสมัยใหม่ตั้งอยู่บนเนินดินเดิมเป็นส่วนใหญ่ เช่นชุมชนไพรขลา ชุมชนโนนสวรรค์พัฒนา ชุมชนกระเบื้องใหญ่ ชุมชนสายสนอง มีเพียงบางชุมชนที่ไปตั้งชุมชนบนที่ราบแห่งใหม่ที่ไม่ใช่ที่ตั้งของชุมชน ร้างแห่งเดิม
จากพัฒนาการการย้ายลงจากเนินดินเดิม เพื่อตั้งเป็นชุมชนสมัยใหม่เกิดจากการขยายตัวของชุมชนทำให้เนินดินเดิมซึ่ง มีขนาดเล็กไม่เพียงพอต่อการตั้งบ้านเรือน และอีกปัจจัยหนึ่งคือการขยายตัวเพื่อประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจชนิดใหม่ คือการค้า และการบริการ ทำให้คนย้ายบ้านเรือนไปตั้งอยู่ตามเส้นทางคมนาคมใกล้เคียง
2. เส้นทางการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตอำเภอชุมพลบุรี ระยะที่เป็นชุมชนสมัยใหม่
จาก หลักฐานที่นำมาศึกษาค้นคว้าและการลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์เรื่อง ประวัติการก่อตั้งชุมชนทั้ง 95 หมู่บ้าน ใน 9 ตำบล พบว่า ประชากรของอำเภอชุมพลบุรีในช่วง 200 ปีที่ผ่านมานี้ มีการอพยพเข้ามาจากอำเภอใกล้เคียง เส้นทางใหญ่ๆ ดังนี้
2.1 ประชากรในเขตตำบลสระขุด และตำบลเมืองบัว พบว่ามีการอพยพย้ายถิ่นเข้ามาจากอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอวาปีปทุม จ. มหาสารคาม อำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นส่วนมากและมีบางส่วนที่อพยพเข้ามาจากบ้านลุงปุง บ้านหนองเมธี อำเภอท่าตูม และปรากฏว่ามีบางชุมชนมีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติตอน ปลาย อายุสมัยประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้วเช่นชุมชนเมืองบัว ชุมชนสระขุด ซึ่งชุมชนโบราณเหล่านี้ก่อให้เกิดการย้ายถิ่นลงจากเนินดินเดิมเพื่อตั้ง ชุมชนใหม่ เช่นชุมชนบ้านงิ้ว บ้านดงสำราญ เป็นต้น
2.2 ประชากรในเขตตำบลยะวึก ส่วนใหญ่อพยพมาจาก อำเภอจตุรพักตร์พิมาน อำเภอปทุมรัตน์ จากอำเภอท่าตูม สุรินทร์ และย้ายลงจากชุมชนโบราณยะวึก
2.3 ประชากรในเขตตำบลกระเบื้องใหญ่ ส่วนใหญ่อพยพมาจากอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และอพยพลงจากชุมชนโบราณบ้านยะวึก บ้านหัวนาคำ
2.4 ประชากรในเขตตำบลศรีณรงค์ ส่วนใหญ่อพยพมาจากชุมชนโบราณเดิม เช่นชุมชนโบราณหัวนาคำ ชุมชนโบราณสำโรง นอกจากนั้นยังมีการอพยพเข้ามาจากที่อื่น เช่น อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์และอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
2.5 ตำบลชุมพลบุรี พบว่ามีการอพยพย้ายถิ่นมาจากอำเภอพยัคภูมิพิสัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และมีการอพยพมาจากเมืองเมืองศรีไผทสมันต์ ( เมืองสุรินทร์) และมีบางชุมชนที่ มีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติตอนปลาย อายุสมัยประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว เช่นชุมชนบ้านหัวนาคำ ชุมชนบ้านตึกชุม ชุมชนบ้านทัพค่าย ซึ่งมีอายุสมัยมากกว่า 3,000 ปี และชุมชนเหล่านี้เองก่อให้เกิดการตั้งชุมชนสมัยใหม่
2.6 ประชากรในเขตตำบลนาหนองไผ่ มีการอพยพย้ายถิ่นมาจากอำเภอรัตนบุรี และอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์เป็นส่วนใหญ่ และมีบางชุมชนที่ มีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุสมัยประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว เช่นชุมชนขวาวโค้ง
2.7 ประชากรในเขตตำบลไพรขลาและหนองเรือ มีการอพยพย้ายถิ่นเข้ามาจากเขต อำเภอท่าตูมแทบทั้งสิ้น และมีบางชุมชนที่ มีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติตอนปลาย อายุสมัยประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว เช่นชุมชนโนนสวรรค์พัฒนา ชุมชนบ้าน
ไพรขลาและมีเพียงชุชนเดียวที่ย้ายมาจากประเทศลาว คือชุมชนบ้านขุนไชยทอง

ปัญหา/อุปสรรคของการทำโครงงาน
ในการทำโครงงานครั้งมีปัญหาคือ
1. การสำรวจทำในหน้าฝน การเดินทางไม่สะดวก และชาวบ้านไม่อยู่บ้านทำให้ยากต่อการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูล
2. คนในชุมชนไม่สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชนของตน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่
3. หลักฐานทางประวัติศาสตร์หายาก โบราณวัตถุถูกชาวบ้านเก็บไว้เป็นของส่วนตัวทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์ขาดหลักฐาน
4. บางหมู่บ้านเป็นชุมชนตั้งใหม่ ทำให้ไม่มีประวัติของหมู่บ้าน บางหมู่บ้านมีการสำรวจข้อมูลประวัติการก่อตั้งหมู่บ้านหลายครั้งข้อมูลที่ ได้คลาดเคลื่อนไม่ตรงกันทำให้ยากต่อการอ้างอิง โดยเฉพาะตำบลหนองเรือ

ข้อค้นพบ
จากการทำโครงงาน เรื่องตามรอยเท้าบรรพชน คนชุมพลบุรี มีข้อค้นพบ ดังนี้
1.ประวัติ ศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณได้ขาดหายไปในช่วงเวลาหนึ่งคือ ช่วงประมาณ 1,500 – 200 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่พบอายุสมัยของชุมชนโบราณที่ประมาณ 2,500 – 1,500 ปี และอายุสมัยของชุมชนสมัยใหม่ อายุสมัย 200 – 20 ปี
2.การตั้งชุมชนของคน ชุมพลบุรีในยุคแรก ๆ มักจะตั้งบนเนินดิน และมีลักษณะเป็นเนินดินใหญ่และเนินดินเล็ก อยู่ห่างกันราว 30 – 100 เมตร ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจะเป็นประเด็นศึกษาต่อไป

วิธีการทางประวัติศาสตร์



วิธีการทางประวัติศาสตร์
ความหมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์

ใน การสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์

ความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์

สำหรับ การศึกษาประวัติศาสตร์นั้น มีปัญหาที่สำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ อดีตที่มีการฟื้นหรือจำลองขึ้นมาใหม่นั้น มีความถูกต้องสมบูรณ์และเชื่อถือได้เพียงใดรวมทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์ อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่นำมาใช้เป็นข้อมูลนั้น มีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มีอยู่มากมายเกินกว่าที่จะศึกษาหรือจดจำได้ หมด แต่หลักฐานที่ใช้เป็นข้อมูลอาจมีเพียงบางส่วน
ดังนั้น วิธีการทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษา ประวัติศาสตร์ หรือผู้ฝึกฝนทางประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ

ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์ ::

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย
ขั้น ตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้น อย่างไร

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
หลัก ฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ)
การรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญ และความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นรอง
ใน การรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรเริ่มต้นจากผลการศึกษาของ นักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริง
การ ศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ข้อมูลหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ทั้งข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์และถูกต้อง เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
วิพากษ์ วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบ คู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการ วิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก

การวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือ เพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายใน
การวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความ เป็นจริง
ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน

ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน
การ ตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรม ต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่ง
อาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม
ใน การตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้ว ยังมีความหมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่

ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล

ขั้น ตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น
ใน ขั้นตอนนี้ ผู้ศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตีความมาวิเคราะห์ หรือแยกแยะเพื่อจัดแยกประเภทของเรื่อง โดยเรื่องเดียวกันควรจัดไว้ด้วยกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน คือ เป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โดยอธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผล ทั้งนี้ผู้ศึกษาอาจนำเสนอเป็นเหตุการณ์พื้นฐาน หรือเป็นเหตุการณ์เชิงวิเคราะห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา

เวลาและความสำคัญของเวลา




เวลา (Time) เป็นทรัพย์สินที่มีค่า และไม่สามารถหาสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาทดแทนได้ บุคคลผู้ประสบ
ผลสำเร็จ ล้วนแล้วแต่รู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด การบริหารเวลาจึงถือเป็นความจำเป็นที่นักบริหาร
จะต้องตระหนัก และให้ความสำคัญ เพราะผู้บริหารเวลาเป็นก็คือผู้บริหารชีวิตเป็น

2. ความหมายของเวลาและความสำคัญของเวลา
2.1 ความหมายของเวลา
เวลา (Time) คือ มาตรวัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็นตัวแปรที่ต่อเนื่อง (Continuous Variable)
2.2 ประเภทของเวลา
2.2.1 เวลาทางกายภาพ (Physical Time) เป็นเวลาในเชิงสมมติใช้หน่วยเป็น ปี เดือน สัปดาห์ วัน ชั่วโมง นาที และวินาที
2.2.2 เวลาทางจิต (Psychological Time) เป็นเวลาตามความรู้สึกตามแต่การรับรู้
ของบุคคลแต่ละคนซึ่งจะแตกต่างกันไป เช่น วัดเป็นความเร็ว ความช้า และความเบื่อหน่าย ฯลฯ
2.3 ความสำคัญของเวลา
2.3.1 เวลาคือชีวิต ไม่มีวันย้อนกลับ ไม่มีอะไรมาทดแทนได้
2.3.2 การปล่อยให้เวลาเสียไปเปล่า ๆ เท่ากับเป็นการปล่อยให้ชีวิตเสียไปเปล่า
2.3.3 การเป็นนายเหนือเวลาเท่ากับเป็นนายเหนือชีวิตอันจะได้รับประโยชน์สูงสุด

3. การบริหารเวลา
3.1 ความหมายของการบริหารเวลา
ศาสตราจารย์ Harold Koontz ให้ความหมายว่า “การบริหารคือการดำเนินงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาศัย ปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัสดุ เป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานนั้น”
3.2 ความหมายของการบริหาร
การบริหารเวลา คือ กระบวนการทำงานอย่างมีระบบ โดยใช้เวลาน้อยแต่ให้ผลคุ้มค่ามากสุด
4. การบริหารเวลาให้เกิดประสิทธิภาพ
4.1 การวางแผน (Planning)
4.1.1 การวางแผน เป็นหลักสำคัญของการทำงานการเรียน การทำงาน จึงต้องกำหนดจุดหมายใช้เวลาที่ประหยัด และก่อให้เกิดงานที่มีประสิทธิภาพ
4.1.2 ควรกำหนดแบบงานแต่ละปี เดือน สัปดาห์ และวัน
4.1.3 ฝึกใช้ปฏิทินในการวางแผนจนเป็นนิสัย
4.1.4 แม้ว่าการวางแผนจะต้องสิ้นเปลืองเวลาในตอนเริ่มแรก แต่ในขั้น
สุดท้าย การวางแผนจะช่วยรักษาเวลาและให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
4.2 การจัดเวลาให้เหมาะสมงาน
4.2.1 กำหนดและจัดลำดับความสำคัญของงานไว้ในแผนการทำงาน
4.2.2 งานใดที่ไม่สำคัญหรือกิจกรรมใดที่ไม่เกิดประโยชน์ควรตัดทิ้งไป
4.2.3 ให้เวลาสำหรับงานที่สำคัญ ๆ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพของงานมากที่สุด 4.2.4 แยกประเภทของงานไว้ให้ชัดเจน แล้วจัดทำพร้อมกัน เพื่อประหยัดเวลา
4.2.5 ทำให้เสร็จเป็นอย่าง ๆ ไปอย่างมีระบบเสมอ
4.3 การจัดเวลาให้เหมาะสมกับคน
4.3.1 ควรตัดเวลาที่เกี่ยวกับงานสังคม หรือการประชุมที่ไม่จำเป็น
4.3.2 ควรปฏิเสธบุคคลที่ขอติดต่อพบปะบ้าง ทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง
4.3.3 ให้บุคคลอื่นมีส่วนแบ่งภาระความรับผิดขอบงานตามสมควร
4.3.4 มอบหมายงานกระจายงานให้บุคคลอื่น ควรทำอย่างมีประสิทธิภาพกำหนดวัตถุประสงค์ในการทำงานที่ชัดเจน
4.3.5 ควรสร้างบรรยากาศการทำงานให้เกิดขึ้นเสมอ หาแนวทางให้รบกวนสมาธิการทำงานให้น้อย
4.4 การสั่งการ/เตือนคนเสมอ
4.4.1 สร้างวิธีที่ฉลาดขึ้น แต่ไม่ใช่คลั่งการจัดระบบจนเกินไป
4.4.2 ทำอะไรให้ลุล่วงไปเป็นขั้นตอน แต่ไม่ใช่ใสใจแต่การจัดระบบแต่ไม่ทำอะไรเลย 4.4.3 ทำอะไรมากเกินไป จนไม่เคยประเมินคุณค่าที่แท้จริงของผลงาน
4.4.4 จงทำงานวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้ และทำวันพรุ่งนี้ให้ดีกว่าวันนี้
4.4.5 การทำอะไรอย่างสมบูรณ์ ชนิดไม่มีดีนี้นเปลืองเวลาโดยใช่เหตุ
4.4.6 ฝึกฝนการตัดสินใจเพื่อทำงานตามที่เห็นว่าเหมาะสมให้ทันเวลา
4.5 การควบคุมการทำงานเพื่อการมีเวลาที่ดีกว่า
4.5.1 การรู้จักใช้เวลาคือการรู้จักวิธีการทำงานที่ฉลาด นั่นแสดงว่าจะมีเวลาสำหรับตัวเอง สำหรับครอบครัวและสำหรับสังคมมากขึ้น
4.5.2 อย่าทำตนเป็นบุคคลที่แยกตนออกจากงานไม่ได้ในบางครั้งหยุดพักผ่อนตามสมควรพอ เหมาะ การทำงานติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน อาจเกิดผลเสียได้
4.5.3 ฝึกมีวินัยในการทำงาน ไม่พลัดวันประกันพรุ่ง เพื่อการมีเวลาที่ดีกว่า
4.5.4 การพบปะ/สังสรรค์/ ร่วมกิจกรรมสังคม จะต้องเป็นเรื่องที่สร้างสรรค์ ไม่เสียเวลากับเรื่องไร้สาระ นำไปสู่ปัญหาไม่มีที่สิ้นสุด สิ้นเปลืองเวลาโดยใช่เหตุ
4.5.5 คนที่รู้จัดใช้เวลา “เป็น” เท่านั้นจึงจะมีเสรีภาพให้กับ “ชีวิต” ที่แท้จริง
5. การจัดแบ่งเวลาและงาน
5.1 การจัดแบ่งเวลาและงานโดยใช้ตารางเมื่อสามารถจัดลำดับความสำคัญและความเร่ง ด่วนของงานได้แล้ว ก็พิจารณาใช้ตารางแบ่งเวลาและงานเข้าช่วยโดยการเขียนงานใส่ช่องที่เหมาะสม กับการใช้เวลาตามตารางแสดงข้างล่าง
จากตารางนี้จะทำให้ผู้บริหารรู้ได้ว่าเวลานั้นจะต้องทำงานอะไร หรือให้ใครไปทำอะไร ข้อสำคัญ ต้องไม่ลืมว่า ผู้บริหารที่ดีคือผู้ที่ทำให้งานเสร็จ ไม่ใช่ทำงานให้เสร็จ

5.2 ประโยชน์ของการบริหารเวลา

เมื่อเวลาเป็นสิ่งที่มีค่า มีความสำคัญ มีจำกัด ไม่อาจจะหาสิ่งอื่นมาทดแทนได้ ในฐานะผู้บริหาร หากเวลาได้ประโยชน์คุ้มค่า เหมาะสมย่อมเกิดประโยชนทั้งส่วนรวมและส่วนตัว เพราะสามารถทำงานที่สำคัญได้เสร็จตามกำหนด ไม่ทำงานซ้ำซ้อน รู้จักสร้างตนสร้างความรับผิดชอบ สร้างทีมงานทั้งการมีส่วนร่วมเลือกทำงานให้คุ้มค่ากับเวลาและที่สำคัญมีความ สุขกับการทำงาน
5.3 ข้อเสนอแนะในการบริหารเวลา

เรียงลำดับความสำคัญของงานว่างานใดควรทำให้เสร็จก่อน และควรหยุดรับทำกิจกรรมหลายอย่างเมื่อมีเวลาจำกัด และควรกำหนดตารางเวลาล่วงหน้า เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และพยายามทำให้ได้ตามกำหนด โดยเผื่อความยึดหยุ่นไว้บ้าง ตารางเวลาล่วงหน้าที่ควรจัดทำ เช่น ตารางต่อวัน, ตารางต่อสัปดาห์, ตารางต่อเดือน , ตารางต่อภาคเรียนและตารางต่อปี
5.4 สุภาษิตที่เกี่ยวกับเวลา
One day is worth two tomorrows.
วันนี้มีค่าเท่ากับวันพรุ่งนี้ถึงสองวัน
Time is the devourer of things.
เวลาคือตัวกลืนสรรพสิ่ง
Time and tide wait for no man.
เวลาและวารีไม่มีจะคอยใคร
Prepare today for the needs of tomorrow.
เตรียมพร้อมในวันนี้เพื่อภาระในวันพรุ่งนี้
Time is money.
เวลาเป็นเงินเป็นทอง
Lost time is never found again.
เวลาที่เสยไปจะเรียกคืนมาไม่ได้
Better late than never
มาสายยังดีกว่าไม่มาเสียเลย
The darkest hour is before the dawn.
เวลาที่มืดมนย่อมมาก่อนรุ่งสว่างที่สดใส

สรุป

การบริหารเวลาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการมีชีวิตอยู่ในสังคม ที่มีความสลับซับซ้อน กิจกรรมทางสังคมมีความเคลื่อนไหว (Dynamic) จนแทบตามไม่ทันสภาพเศรษฐกิจเปลี่ยนไปไม่มีวันสิ้นสุด ผู้ที่มองเห็นคุณค่าของเวลา และสามารถบริหารเวลาที่มีอยู่ให้บังเกิดผลประโยชน์ย่อมเป็นผู้ได้เปรียบ และจะสามารถขจัดปัญหาอันเป็นผลมาจากความเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ รอบข้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นย่อมหมายความว่าบุคคลนั้นได้ควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในมือได้แล้ว ทั้งนี้ด้วยสาเหตุเพียงประการเดียว คือ เขาบริหารเวลาเป็น

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความหมายของกฎหมาย

ความหมายของกฎหมาย

ผู้มีให้คำนิยามคำว่า “กฎหมาย” ไว้หลายความหมาย ส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคมใน แต่ละยุคสมัย แต่โดยนัยแห่งความหมายแล้วคล้ายคลึงกัน เช่น กฎหมาย คือ

1. คำสั่งของผู้ปกครองว่าการแผ่นดิน ต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามแล้วตามธรรมดาต้อง
รับโทษ

2. ข้อบังคับของรัฐซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูก
ลงโทษ

3. ข้อบังคับของประเทศซึ่งใช้บังคับความประพฤติของพลเมือง ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามย่อมมีความผิดและย่อมถูกบังคับทำโทษ

4. คำสั่งซึ่งหมู่ชนยอมรับรองโดยตรงหรือโดยปริยาย และประกอบขึ้นด้วยมวลข้อบังคับ ซึ่งหมู่ชนเห็นว่าสำคัญ เพื่อความผาสุกของตน และพร้อมที่จะให้มีการบังคับเพื่อให้ปฏิบัติตาม

5. การแสดงออกของเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชน ซึ่งทุกคนมีสิทธิเข้าร่วมด้วยตนเองหรือโดยผ่านผู้แทนของตนในการสร้างกฎหมาย และใช้บังคับกับประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครอง การป้องกันหรือการลงโทษ

6. เครื่องมือที่รับรองผลประโยชน์ของชนชั้นปกครองในการที่จะรักษาสภาพไม่เท่าเทียมกันในสังคม เพื่อผลกำไรของชนชั้นตน

นิยามคำว่า กฎหมาย ในข้อ 1-3 มีความคล้ายคลึงกันมากคือเป็นคำสั่งของรัฐาธิปัตย์หรือผู้มีอำนาจที่ใช้ควบ คุมความประพฤติของมนุษย์หรือราษฎรทั้งหลาย เป็นคำนิยามที่มาจากแนวความคิดของปราชญ์หลายท่านในช่วงศตวรรษที่ 17-19 เช่นThomas Hobbes(1588-1679) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นบิดาทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่ก็สอนว่า “มนุษย์ในสภาวธรรมชาติอยู่ในสภาพที่ทุกๆคนทำสงครามกันอยู่ตลอดเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะธรรมชาติเช่นนี้มนุษย์จึงหันมาทำสัญญาที่จะอยู่ร่วมกัน เป็นสังคมและยอมอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของรัฐาธิปัตย์โดยปราศจากเงื่อนไข และยอมปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ถืออำนาจปกครองนั้นโดยสงบ กฎหมายหรือมาตรการความประพฤติของมนุษย์ก็คือ สิ่งที่ผู้ถืออำนาจปกครองกำหนดขึ้นและบังคับให้ทุกคนปฏิบัติตามนั่นเอง” หลังจาก Hobbes แล้ว ในช่วงต่อมา John Austin (1790-1859 )นักปราชญ์ชาวอังกฤษก็มีความคิดในทำนองเดียวกัน โดยให้คำนิยามว่า กฎหมายคือ (Deliberately made)

พิเคราะห์จากแนวความคิดของปราชญ์ในช่วงศตวรรษที่ 17-19 ที่เกี่ยวกับกฎหมายเราจะพบว่า การยอมรับให้รัฐาธิปัตย์หรือผู้มีอำนาจออกกฎหมายมาใช้บังคับนั้นจะมีลักษณะ สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคมในยุคนั้นที่ซึ่งความเป็นจริง ในทางการเมืองสังคมอยู่ภายใต้ระบบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์(Absolute Monarch – Monachie Absolue)และในทางเศรษฐกิจลัทธิเสรีนิยมเริ่มก่อตัวท่ามกลางเศรษฐกิจพาณิชญ์ นิยมหรือลัทธิพาณิชญ์นิยม (Mercantilisme) ซึ่งต้องการความเป็นเอกภาพและความมั่นคงในสังคมเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจของเอกชนและรัฐ

นอกจากอิทธิพลแนวความคิดของHobbes แล้ว แนวความคิดเกี่ยวกับหน้าที่ของกฎหมายของ John Locke ก็มีบทบาทสำคัญในการให้นิยามกฎหมายในช่วงต่อมาซึ่งจะปรากฏในข้อที่ 4 -5 ที่ว่า กฎหมายคือคำสั่งที่หมู่ชนยอมรับรองโดยตรงหรือโดยปริยาย...............และ พร้อมที่จะให้มีการบังคับเพื่อปฏิบัติตาม และกฎหมายคือการแสดงออกของเจตนารมณ์ร่วมกันของ ประชาชน...........................และใช้บังคับกับประชาชนทุกคนอย่างเท่า เทียมกันไม่ว่าจะเป็นการป้องกันหรือการลงโทษ

ขณะที่ T.Hobbes เห็นว่าโดยธรรมชาติมนุษย์จะทำสงครามกันอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและให้สังคมดำรงอยู่อย่างมั่นคงและ ปลอดภัย รัฐาธิปัตย์ในฐานะ “ ผู้มีอำนาจกลางสูงสุด ” จึงต้องออกคำสั่งหรือข้อบังคับใช้กับทุกคนในสังคม ตรงกันข้าม John Locke กลับมองในแง่ดีว่า มนุษย์นั้นมีลักษณะที่ดีติดตัวมา สามารถควบคุมตัวเองได้ เมื่อต้องอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนและติดต่อสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดังนั้น กฎหมายหรือคำสั่งของรัฐาธิปัตย์จึงมรฐานะเป็นแนวทางกว้างๆหรือโครงร่าง ( Framework ) ที่กำหนดให้มนุษย์ได้รู้จักใช้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติต่อบุคคลอื่นๆ ซึ่งกฎหมายไม่ใช่เครื่องมือของรัฐาธิปัตย์ที่จะใช้ควบคุมความประพฤติของ มนุษย์ทุกย่างก้าว

John Locke เองไม่ได้ให้ความสำคัญต่อกฎหมายในแง่ของการบังคับแต่ให้ความสำคัญในฐานะที่ เป็น ( Framework ) ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคมและความ สัมพันธ์ในการผลิต โดยรัฐาธิปัตย์มีหน้าที่เข้ามาช่วยเสริมความเป็นระเบียบในสังคมเพื่อให้ความ สัมพันธ์ดังกล่าวดำเนินไปอย่างราบรื่นโดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินส่วนบุคคล John Locke ถือว่าเป็นสิทธฺทางธรรมชาติที่มนุษย์ต้องการให้รัฐาธิปัตย์ปกป้องคุ้มครอง ด้วยกฎหมายรวมทั้งเรื่องของสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย และสิทธิในการรับมรดกหรือกล่าวได้ว่าเป็นความต้องการของบุคคลที่จะให้รัฐ คุ้มครองป้องกันทรัพย์สินส่วนตัว

จากแนวความคิดของ John Locke และนิยามความหมายของกฎหมายในข้อ 4-5 เราจะพบว่ามันเป็นคำนิยามที่สอดคล้องกับสังคมเสรีนิยมโดยเฉพาะประเทศในยุโรป และอเมริกาซึ่งในทางการเมืองขณะนั้นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ( Democracy – Democratie ) ได้รับการต้อนรับจากประชาชนในประเทศเสรีนิยมอย่างกว้างขวาง ขณะที่เศรษฐกิจระบบทุนนิยมก็ขยายขอบเขตปริมณฑลออกไปอย่างรวดเร็ว

คำนิยามสุดท้ายที่ว่า “ กฎหมายคือ เครื่องมือที่รับรองผลประโยชน์ของชนชั้นปกครองในการที่จะรักษาสภาพที่ไม่ เท่าเทียมกันในสังคม เพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นตน ” เป็นความหมายที่ได้รับอิทธิพลทางอุดมการณ์และทรรศนะสังคมนิยมที่เห็นว่าใน สังคมหนึ่งๆ ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมต่างๆและชนชั้นหนึ่งในสังคมคือชนชั้นปกครองที่มี อำนาจอยู่ในมือจะออกกฎหมายมาบังคับใช้บุคคลทั้งหลายเพื่อประโยชน์ของชนชั้น ปกครอง ดังนั้น ถ้านายทุนปกครองประเทศกฎหมายที่ออกมาจะมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาผลประโยชน์ ของชนชั้นนายทุน

นิยามคำว่ากฎหมายทั้ง 6 ข้อที่กล่าวมา แม้ว่าจะเกิดจากแนวความคิดอิทธิพลทางอุดมการณ์และเงื่อนไขความเป็นจริงทาง การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่แตกต่างกัน แต่โดยวัตถุประสงค์และวิธีการออกกฎหมายมาใช้บังคับก็ไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะ “ กฎหมายจะถูกจัดทำโดยผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือองค์กรมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของ บุคคลในสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและบุคคลของรัฐ ถ้ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ย่อมถูกลงโทษ”

ความสำคัญของกฎหมาย

ในสังคมของมนุษย์นั้นมีสมาชิกจำนวนมากที่มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิดเห็นและพฤติกรรมต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีกฎระเบียบหรือกติการ่วมกัน เพื่อเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่างๆ ดังนี้

1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ เมื่ออยู่รวมกันเป็นสังคมทุกคนจำเป็นต้องมีบรรทัดฐาน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติยึดถือเพื่อความสงบเรียบร้อย ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม

2. กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พลเมืองไทยทุกคนต้องปฏิบัติตนตามข้อบังคับของกฎหมาย ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ กฎหมายจะเกี่ยวข้องกับ การดำรงชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย

3. กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม คนเราทุกคนย่อมต้องการความ ยุติธรรมด้วยกันทั้งสิ้น การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดถูกต้องหรือไม่นั้น ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ ฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นกฎเกณฑ์สำคัญที่เป็นหลักของความยุติธรรม

4. กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทางใด หรือคุณภาพของพลเมืองเป็นอย่างไร จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาใช้บังคับ เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดไว้ ดังจะเห็นได้จากการที่กฎหมายได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้น ฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐเป็นผู้จัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บ ค่าใช้จ่ายนั้น ย่อมส่งผลให้ คุณภาพด้านการศึกษาของประชาชนสูงขึ้น หรือการที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ พิทักษ์ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ย่อมทำให้สังคมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนมีมาตรฐานดีขึ้น

ดังนั้น การที่ประเทศใดจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เป็นไปในแนวทางใดก็ตามถ้าได้ มีบทบัญญัติของกฎหมายเป็นหลักการให้ทุกคนปฏิบัติตาม ก็ย่อมทำให้การพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนประสบผลสำเร็จได้สูงกว่าการปล่อยให้เป็นไปตามวิถีการ ดำเนินชีวิตของสังคมตามปกติ

องค์ประกอบของกฎหมาย

ก. ประเภทขององค์ประกอบพิจารณาจากแง่การกระทำที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด

๑.องค์ประกอบภายนอก
ได้แก่ การกระทำและสิ่งต่าง ๆ ที่กฎหมายอาญาบัญญัติว่าเป็นความผิด เท่าที่ปรากฏออกมา
ภายนอก คือเท่าที่ปรากฏออกมาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย หลักในการแบ่งแยกองค์ประกอบ
ความผิดแต่ละความผิดนั้น คือ จะต้องตั้งต้นที่ "การกระทำ" ที่กฎหมายบัญญัติไว้เสียก่อน
ข้อยกเว้นมีในกรณีที่กฎหมายได้กำหนดคุณสมบัติของผู้กระทำด้วย เช่น กำหนดว่าผู้กระทำ
จะต้องเป็นเจ้าพนักงานจึงจะทำผิดได้

๒.องค์ประกอบภายใน
ได้แก่ เป็นเรื่องที่กฎหมายที่กำหนดความผิดได้กำหนดไว้เกี่ยวกับจิตใจของผู้กระทำผิด คือ
เจตนา มูลเหตุชักจูงใจและประมาท
เจตนา (ป.อ.มาตรา ๕๙) เมื่อกฎหมายกำหนดว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิดแล้ว บุคคลนั้น
ต้องกระทำโดยเจตนาจึงจะมีความผิด เว้นแต่ จะเข้าข้อยกเว้น กล่าวคือ (๑) กฎหมายบัญญัติไว้
โดยชัดแจ้งว่าเป็นความผิด (๒) ความผิดลหุโทษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่ง
แม้ไม่ได้กระทำโดยเจตนาก็เป็นความผิด เว้นแต่ถ้อยคำในตัวบทจะแสดงว่าต้องเจตนาจึงจะ
เป็นความผิด และ (๓) ความผิดตามพระราชบัญญัติอื่น ซึ่งระบุไว้ชัดแจ้งว่าแม้ไม่ได้กระทำ
โดยเจตนาก็เป็นความผิด
ประมาท (ป.อ.มาตรา ๕๙) จะเป็นความผิดต่อเมื่อกฎหมายได้ระบุไว้ในมาตราที่บัญญัติถึง
ความผิดนั้นว่า การกระทำโดยประมาทมีความผิด ดังนั้น ถ้ามาตราใดในประมวลกฎหมาย
อาญาไม่มีคำว่า "ประมาท" แล้ว ต้องถือว่าผู้กระทำต้องมีเจตนาธรรมดาจึงจะมีความผิด
ทั้งนี้ นอกจากข้อยกเว้น อีก ๒ ประการที่ มาตรา ๕๙ บัญญัติไว้ คือ
(๑) ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา ซึ่ง
หมายถึงกฎหมายอื่นนอกจากประมวลกฎหมายอาญา
(๒) ข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๐๔ บัญญัติว่า "การกระทำความผิด
ลหุโทษตามประมวลกฎหมายนี้ แม้กระทำโดยไม่มีเจตนาก็เป็นความผิด เว้นแต่ ตาม
บทบัญญัติความผิดนั้นจะมีความบัญญัติให้เห็นเป็นอย่างอื่น"

ข.ประเภทขององค์ประกอบพิจารณาจากแง่ลักษณะขององค์ประกอบนั้นเอง

๑.องค์ประกอบในทางรับ
เป็นองค์ประกอบปรกติของความผิด ซึ่งหมายความรวมถึงองค์ประกอบภายนอกและ
องค์ประกอบภายในด้วย องค์ประกอบในทางรับนี้มิได้มีเฉพาะในเรื่องความผิด แต่มีในเรื่อง
เหตุเพิ่มโทษและเรื่องอื่น ๆ เช่น เจตนาด้วย

๒.องค์ประกอบในทางปฏิเสธ
หมายความถึง องค์ประกอบที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าถ้าเข้าองค์ประกอบดังกล่าวแล้ว ก็จะไม่
เป็นความผิดตามมาตราที่ระบุไว้ องค์ประกอบในทางปฏิเสธนี้มิใช่มีอยู่เฉพาะในเรื่อง
ความผิดเท่านั้น แม้ในเรื่องอื่นก็มีเหมือนกัน เช่น เรื่องประมาทตามมาตรา ๕๙ วรรคสี่
ซึ่งใช้คำว่า "กระทำโดยประมาท ได้แก่ ความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจาก
ความระมัดระวัง..." คำว่า "ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา" ย่อมเป็นองค์ประกอบ
ในทางปฏิเสธ กล่าวคือ ถ้าปรากฏว่าผู้กระทำโดยเจตนา ไม่ว่าจะเป็นเจตนาโดยประสงค์
ต่อผลหรือเจตนาโดยย่อมเล็งเห็นผล ย่อมจะเป็นความผิดฐานประมาทไม่ได้เลย

๓.องค์ประกอบในทางอธิบาย
ในตัวของมันเองไม่ได้ประกอบเป็นความผิด มันเป็นแต่อธิบายความผิดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เท่านั้น เช่น
มาตรา ๒๗๗ บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี... โดยเด็กหญิง
นั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษ..." จะเห็นได้ว่า คำว่า "โดยเด็กหญิงนั้นจะ
ยินยอมหรือไม่ก็ตาม" นั้นเป็นแต่คำอธิบายเท่านั้น ผู้ใดกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน
สิบห้าปีย่อมมีความผิดเสมอ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความยินยอมของเด็กหญิงนั้น


ประเภทของกฎหมาย


การแบ่งแยกประเภทของกฎหมาย กฎหมายแบ่งแยกตามข้อความของกฎหมายได้เป็น 3 ประเภท

(1) กฎหมายมหาชน (Public Law)

(2) กฎหมายเอกชน (Private Law)

(3) กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)

1. กฎหมายมหาชน (Public Law) ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎร ในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองราษฎร กล่าวคือในฐานะที่รัฐมีฐานะเหนือราษฎร แบ่งแยกสาขากฎหมายมหาชนได้ ดังนี้

(1) รัฐธรรมนูญ

(2) กฎหมายปกครอง

(3) กฎหมายอาญา

(4) กฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

(5) กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา

(6) กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง

(1) รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายที่ว่าด้วยระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดในรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนั้น ๆ ต่อกันและกัน ลักษณะทั่วไปคือ

ก. กำหนดระเบียบแห่งอำนาจสูงสุด อำนาจอธิปไตย ใครเป็นเจ้าของ (มาตรา

3 แห่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บัญญัติว่า อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทยพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาลตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้)

ข. รัฐธรรมนูญต้องมีข้อความกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติอำนาจบริหาร อำนาจตุลาการต่อกันและกัน

(2) กฎหมายปกครอง ได้แก่กฎหมายที่กำหนดรายละเอียดในการปกครองลดหลั่นลง

จากกฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยอำนาจการปกครองประเทศแต่กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการปกครอง ซึ่งในกฎหมายนี้จะกล่าวถึงการจัดระเบียบแห่งองค์การปกครอง (เช่น จัดแบ่งออกเป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือ เทศบาล สุขาภิบาล ฯลฯ ความเกี่ยวพันระหว่างองค์การเหล่านี้ต่อกันและกัน และความเกี่ยวกับระหว่างองค์การเหล่านี้กับราษฎร) กฎหมายปกครองไม่ได้รวบรวมขึ้นในรูปของประมวลกฎหมาย กฎหมายต่าง ๆ ที่อยู่ในสาขากฎหมายปกครองเป็นจำนวนมาก อาทิ เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องถิ่น พระราชบัญญัติจัดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พระราชบัญญัติเทศบาล พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด และพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล

(3) กฎหมายอาญา ได้แก่กฎหมายที่บัญญัติถึงความผิดและโทษ แยกพิจารณาได้ดังนี้

การบัญญัติความผิด หมายความว่า การบัญญัติว่าการกระทำและการงดเว้นการกระทำอย่างใดเป็นความผิดอาญา

การบัญญัติโทษ หมายความว่า เมื่อใดบัญญัติว่าการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำอย่างใดเป็นความผิดแล้ว ก็ต้องบัญญัติโทษอาญาสำหรับความผิดนั้นไว้ด้วย

ประมวลกฎหมายอาญาแบ่งออกเป็น 3 ภาค ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป ภาค 2 ความผิด ภาค 3 ลหุโทษ ภาค 1 ตามมาตรา 17 แห่งประมวลกฎหมายอาญาให้นำไปใช้ในกรณีความผิดตามกฎหมายอื่นได้ด้วย

หลักเกณฑ์สำคัญ ของประมวลกฎหมายอาญา มีดังนี้

(1) จะไม่มีความผิดโดยไม่มีกฎหมาย [1]

(2) จะไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย โทษอย่างไรก็ต้องลงอย่างนั้น จะให้ลงโทษอย่างอื่นไม่ได้

(3) จะต้องตีความกฎหมายอาญาโดยเคร่งครัด

(4) การอุดช่องว่างแห่งกฎหมาย อุดช่องว่าเป็นผลร้ายแก่จำเลยไม่ได้

(5) จะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อให้จากความรับผิดไม่ได้(มาตรา64)

หลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญา มี 3 ข้อ

1. ต้องมีการกระทำ

2. การกระทำนั้นเข้าองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด

3. ไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ หรือ ไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด

(4) กฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม หมายความถึงกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลและอำนาจในการพิจารณาพิพากษาของศาลและของผู้พิพากษา มีหลักการดังนี้

(1) หลักอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ต้องเป็นของศาลโดยเฉพาะ

(2) หลักการจัดตั้งศาล จัดตั้งศาลต้องกระทำโดยพระราชบัญญัติ

(3) หลักการห้ามตั้งศาลพิเศษ

(4) หลักการผู้พิพากษาย่อมมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีซึ่งตามรัฐธรรมนูญให้หลักประกันไว้ 2 ประการ คือ

(ก) การแต่งตั้ง ย้าย ถอดถอน ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการก่อนแล้วจึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งและถอดถอนหรือโยกย้ายได้

(ข) การเลื่อนตำแหน่งการเลื่อนเงินเดือน ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการ หลักประกันทั้ง 2 ประการ ดังกล่าวทำให้ผู้พิพากษาเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร เพราะฝ่ายบริหารจะให้คุณหรือโทษผู้พิพากษาไม่ได้ คณะกรรมการตุลาการเป็นคนกลางไม่ขึ้นต่อฝ่ายบริหาร

(5) กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2477 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เป็น กฎหมายที่บัญญัติถึงกระบวนการที่จะนำตัวผู้กระความความผิดมารับโทษตามความ ผิดที่กำหนดในประมวลกฎหมายอาญา เริ่มตั้งแต่ ขอบเขตของเจ้าพนักงานตำรวจ อัยการ และศาลในการพิจารณาคดี หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาคดีเพื่อให้ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ

(6) กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

(1) หลักการเริ่มคดีอยู่ที่คู่ความ ไม่ว่าจะเป็นตัวฟ้องก็ดี คำให้การก็ดี หรือคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีแพ่งก็ดี คู่ความจะต้องระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของตนเอง

(2) การพิจารณาดำเนินไปโดยเคร่งครัดต่อแบบพิธี เช่นว่า การยื่นเอกสารจะต้องยื่นต้นฉบับ หรือกรณีใดยื่นสำเนาเอกสารได้ เป็นต้น เพราะการปฏิบัติไม่ถูกต้องอาจมีผลให้ศาลไม่รับฟังพยานเอกสารนั้น

(3) ไม่จำเป็นต้องถือเอาความสัตย์จริงเป็นใหญ่ เพราะคู่ความต้องระวังรักษาผลประโยชน์ของตนเอง เช่น คดีฟ้องของเรียกเงินกู้ ความจริงมิได้กู้ แต่จำเลยเห็นว่าเป็นจำนวนเงินเล็กน้อย จึงยอมรับว่ากู้มาจริง ศาลก็ต้องพิพากษาให้เป็นไปตามฟ้องของโจทก์และคำรับของจำเลย เว้น แต่ในกรณีที่ศาลอาจยกข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้น มาอ้างได้ ศาลอาจวินิจฉัยไปโดยไม่ฟังคำรับของคู่ความก็ได้

2. กฎหมายเอกชน(Private Law) ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกันในฐานะเท่าเทียมกัน เช่นเรื่องสัญญาซื้อขาย ก. ทำสัญญาซื้อขายกับ ข. ก. กับ ข. ต่างก็อยู่ในฐานะเท่าเทียมกัน ก. จะบังคับ ข. ให้ตกลงกับ ก. อย่างใด ๆ โดย ข. ไม่สมัครใจไม่ได้ มีข้อที่ควรสังเกตว่าในบางกรณีรัฐก็ได้เข้ามาทำสัญญากับราษฎร ในฐานะที่รัฐเป็นราษฎรได้ ซึ่งก็ต้องมีความสัมพันธ์เหมือนสัญญาซื้อขายระหว่างบุคคลธรรมดา กฎหมายเอกชนที่กล่าวไว้ในที่นี้ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายอื่น ๆ โดยสรุป

(1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีลักษณะเป็นประมวลกฎหมายแบ่งแยกออกเป็นหลายลักษณะด้วยกัน เช่น นิติกรรมสัญญา หนี้ ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ ละเมิด ตัวแทน นายหน้า เป็นต้น ในแต่ละลักษณะได้กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ไว้ ในการศึกษากฎหมายของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์แทบทุกมหาวิทยาลัย จะมีการศึกษาถึงเนื้อหารายละเอียดในกฎหมายนั้น ๆ แต่ละลักษณะ แต่ในที่นี้ที่กล่าวถึงไว้ก็เพียงเพื่อให้ทราบว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีลักษณะเป็นกฎหมายเอกชน เท่านั้น

(2) กฎหมายอื่น ๆ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนในฐานะเท่าเทียมกัน อันมีลักษณะเป็นกฎหมายเอกชนยังมีอยู่อีกมาก อันได้แก่พระราชบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษอื่น อย่างเช่น ประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งจำกัดสิทธิในการมีที่ดินของบุคคลบางประเภท เช่น คนต่างด้าว เป็นต้น พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่านา พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ซึ่งมีลักษณะเป็นกึ่งกฎหมายมหาชนและกึ่งกฎหมายเอกชน เพราะมีบทบัญญัติให้เจ้าพนักงานเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง

3. กฎหมายระหว่างประเทศ(International Law) หมายถึง กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกัน และแบ่งแยกออกตามความสัมพันธ์ได้ 3 สาขา คือ

(1) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกันในฐานะที่รัฐเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น กำหนดข้อบังคับการทำสงครามระหว่างกันและกัน

(2) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกันในทางคดีบุคคล คือ ในทางเอกชนหรือในทางแพ่ง กฎหมาย นี้จะกำหนดว่าถ้าข้อเท็จจริงพัวพันกับต่างประเทศในทางใดทางหนึ่ง เช่น การสมรสกับหญิงที่เป็นคนต่างด้าว หรือการซื้อขายของที่อยู่ในต่างประเทศจะใช้กฎหมายภายในประเทศ (คือกฎหมายไทย) หรืออาจใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับแก่คดีนั้น ๆ

(3) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกันทางคดีอาญา เช่น กำหนดว่าการกระทำความผิดนอกประเทศในลักษณะใดบ้างจะพึงฟ้องร้องในประเทศไทย ตลอดจนวิธีส่งผู้ร้ายข้ามแดน เป็นต้น



ศักดิ์ของกฎหมาย

ศักดิ์ของกฎหมาย (อังกฤษ: hierachy of law) คือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมาย

การ จัดศักดิ์ของกฎหมายมีความสำคัญต่อกระบวนวิธีการต่าง ๆ ทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ การตีความ และการยกเลิกกฎหมาย เช่น หากกฎหมายฉบับใดมีลำดับชั้นของกฎหมายสูงกว่า กฎหมายฉบับอื่นที่อยู่ในลำดับต่ำกว่าจะมีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับกฎหมายสูง กว่านั้นมิได้ และอาจถูกยกเลิกไปโดยปริยาย

[แก้> เกณฑ์ในการกำหนดศักดิ์ของกฎหมาย

เกณฑ์ในการกำหนดศักดิ์ของกฎหมายได้แก่ การพิจารณาจากผู้ตรากฎหมายฉบับนั้น ๆ ซึ่งย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ

สำหรับ ประเทศไทยนั้น รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยผู้แทนของปวงชนคือรัฐสภา เป็นการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาร่วมกันใช้อำนาจสูงสุดแห่งรัฐในการออก กฎหมาย จึงให้มีศักดิ์สูงสุด ส่วนที่มีศักดิ์รองลงมาได้แก่ พระราชบัญญัติ และพระราชกำหนด ซึ่งได้รับการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรก่อนแล้วจึงผ่านไปยังวุฒิสภา เป็นการแยกกันใช้อำนาจ

[แก้> ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย

ว่ากันแต่ ประเทศไทยในปัจจุบัน มีทั้งกฎหมายลายลักษณ์อักษร กฎหมายจารีตประเพณี และหลักกฎหมายทั่วไป แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่ากฎหมายส่วนใหญ่ของไทยอยู่ในรูปลายลักษณ์อักษร มากที่สุด[40>

[แก้> กฎหมายที่เป็นลายลักษ์อักษร

รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายสูงสุดที่กำหนดรูปแบบการปกครองและระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนรับรองและส่งเสริมสิทธิต่าง ๆ ของประชาชนทั้งประเทศ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายอื่นทุกฉบับ กฎหมายอื่นจึงจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้ มิเช่นนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้เลย

มักมีผู้เรียก "รัฐธรรมนูญ" ว่า "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" พึงทราบว่า "กฎหมายรัฐธรรมูญ" (อังกฤษ: constitutional law) นั้นเป็นคำเรียกสาขาวิชาทางนิติศาสตร์และเรียกกฎหมายมหาชนแขนงหนึ่งซึ่งว่า ด้วยการวางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง ส่วน "รัฐธรรมนูญ" (อังกฤษ: Constitution) นั้นคือกฎหมายจริง ๆ ฉบับหนึ่งซึ่งจัดระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง[1> [41>

กฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายชนิดนี้อยู่ในรูปของพระราชบัญญัติในประเทศไทย และมีศักดิ์เดียวกันกับพระราชบัญญัติ[42> แต่มีวิธีการตราที่พิสดารกว่าพระราชบัญญัติเนื่องเพราะเป็นกฎหมายที่อธิบาย รายละเอียดต่าง ๆ ของรัฐธรรมนูญ

พระราชบัญญัติ และประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายชั้นรองลงมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นกฎหมายที่ถือได้ว่าคลอดออกมาจากท้องของรัฐธรรมนูญโดยตรง องค์กรที่มีหน้าที่ตรากฎหมายสองประเภทนี้ได้แก่รัฐสภา

พระ ราชกำหนด เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจในการตราให้แก่ฝ่ายบริหารคือคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ใช้ในกรณีรีบด่วนหรือฉุกเฉิน พระราชกำหนดนั้นเมื่อมีการประการใช้แล้วคณะรัฐมนตรีต้องนำเสนอต่อรัฐสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ถ้ามิได้รับความเห็นชอบก็เป็นอันสุดสุดลง แต่ผลของการสิ้นสุดลงนี้ไม่กระทบกระเทือนบรรดาการที่ได้กระทำลงระหว่างใช้ พระราชกำหนดนั้น

พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดซึ่งเป็นหลักการย่อย ๆ ของพระราชบัญญัติหรือของพระราชกำหนด เปรียบเสมือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่อธิบายขยายความใน รัฐธรรมนูญ

กฎองค์การบัญญัติ เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตราขึ้นและใช้บังคับภายในเขตอำนาจ ของตน ได้แก่ ข้อบังคับตำบล เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา เนื่องจากอำนาจในการตรากฎหมายประเภทนี้ได้รับมาจากพระราชบัญญัติ โดยทั่วไปจึงถือว่ากฎองค์การบัญญัติมีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ[43> ชั่วแต่ว่าใช้บังคับภายในเขตใดเขตหนึ่งเป็นการทั่วไปเท่านั้น

กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารและไม่ต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากรัฐสภา มีลักษณะคล้ายพระราชกฤษฎีกาเพราะศักดิ์ของผู้ตราต่างกัน

รองศาสตราจารย์ ทัชชมัย ฤกษะสุต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า "เมื่อพระราชกฤษฎีกากับกฎกระทรวงมีความใกล้เคียงกันมาก ข้อที่พิจารณาให้เห็นถึงความแตกต่างกันว่าควรจะออกกฎหมายในรูปพระราชกฤษฎีกา หรือกฎกระทรวงนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เนื้อหาของกฎหมายที่ต้องการบัญญัตินั้นมีความสำคัญเพียงใด ซึ่งหากมีความสำคัญเป็นอย่างมากจะออกมาในรูปของพระราชกฤษฎีกา แต่ถ้ามีความสำคัญน้อยกว่าก็ออกในรูปของกฎกระทรวง"[44>

[แก้> ผลการจัดศักดิ์ของกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร

1. การออกกฎหมายที่มีศักดิ์ของกฎหมายต่ำกว่าจะออกได้โดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายที่ มีศักดิ์สูงกว่าหรือตามที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้อำนาจไว้

2. กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายศักดิ์สูงกว่า จะออกมาโดยมีเนื้อหาเกินกว่าขอบเขตอำนาจที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้ไว้มิได้ มิฉะนั้นจะใช้บังคับมิได้เลย

3. หากเนื้อหาของกฎหมายมีความขัดแย้งกัน ต้องใช้กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าบังคับ ไม่ว่ากฎหมายศักดิ์สูงกว่านั้นจะออกก่อนหรือหลังกฎหมายศักดิ์ต่ำกว่านั้น