วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความหมายของกฎหมาย

ความหมายของกฎหมาย

ผู้มีให้คำนิยามคำว่า “กฎหมาย” ไว้หลายความหมาย ส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคมใน แต่ละยุคสมัย แต่โดยนัยแห่งความหมายแล้วคล้ายคลึงกัน เช่น กฎหมาย คือ

1. คำสั่งของผู้ปกครองว่าการแผ่นดิน ต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามแล้วตามธรรมดาต้อง
รับโทษ

2. ข้อบังคับของรัฐซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูก
ลงโทษ

3. ข้อบังคับของประเทศซึ่งใช้บังคับความประพฤติของพลเมือง ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามย่อมมีความผิดและย่อมถูกบังคับทำโทษ

4. คำสั่งซึ่งหมู่ชนยอมรับรองโดยตรงหรือโดยปริยาย และประกอบขึ้นด้วยมวลข้อบังคับ ซึ่งหมู่ชนเห็นว่าสำคัญ เพื่อความผาสุกของตน และพร้อมที่จะให้มีการบังคับเพื่อให้ปฏิบัติตาม

5. การแสดงออกของเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชน ซึ่งทุกคนมีสิทธิเข้าร่วมด้วยตนเองหรือโดยผ่านผู้แทนของตนในการสร้างกฎหมาย และใช้บังคับกับประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครอง การป้องกันหรือการลงโทษ

6. เครื่องมือที่รับรองผลประโยชน์ของชนชั้นปกครองในการที่จะรักษาสภาพไม่เท่าเทียมกันในสังคม เพื่อผลกำไรของชนชั้นตน

นิยามคำว่า กฎหมาย ในข้อ 1-3 มีความคล้ายคลึงกันมากคือเป็นคำสั่งของรัฐาธิปัตย์หรือผู้มีอำนาจที่ใช้ควบ คุมความประพฤติของมนุษย์หรือราษฎรทั้งหลาย เป็นคำนิยามที่มาจากแนวความคิดของปราชญ์หลายท่านในช่วงศตวรรษที่ 17-19 เช่นThomas Hobbes(1588-1679) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นบิดาทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่ก็สอนว่า “มนุษย์ในสภาวธรรมชาติอยู่ในสภาพที่ทุกๆคนทำสงครามกันอยู่ตลอดเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะธรรมชาติเช่นนี้มนุษย์จึงหันมาทำสัญญาที่จะอยู่ร่วมกัน เป็นสังคมและยอมอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของรัฐาธิปัตย์โดยปราศจากเงื่อนไข และยอมปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ถืออำนาจปกครองนั้นโดยสงบ กฎหมายหรือมาตรการความประพฤติของมนุษย์ก็คือ สิ่งที่ผู้ถืออำนาจปกครองกำหนดขึ้นและบังคับให้ทุกคนปฏิบัติตามนั่นเอง” หลังจาก Hobbes แล้ว ในช่วงต่อมา John Austin (1790-1859 )นักปราชญ์ชาวอังกฤษก็มีความคิดในทำนองเดียวกัน โดยให้คำนิยามว่า กฎหมายคือ (Deliberately made)

พิเคราะห์จากแนวความคิดของปราชญ์ในช่วงศตวรรษที่ 17-19 ที่เกี่ยวกับกฎหมายเราจะพบว่า การยอมรับให้รัฐาธิปัตย์หรือผู้มีอำนาจออกกฎหมายมาใช้บังคับนั้นจะมีลักษณะ สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคมในยุคนั้นที่ซึ่งความเป็นจริง ในทางการเมืองสังคมอยู่ภายใต้ระบบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์(Absolute Monarch – Monachie Absolue)และในทางเศรษฐกิจลัทธิเสรีนิยมเริ่มก่อตัวท่ามกลางเศรษฐกิจพาณิชญ์ นิยมหรือลัทธิพาณิชญ์นิยม (Mercantilisme) ซึ่งต้องการความเป็นเอกภาพและความมั่นคงในสังคมเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจของเอกชนและรัฐ

นอกจากอิทธิพลแนวความคิดของHobbes แล้ว แนวความคิดเกี่ยวกับหน้าที่ของกฎหมายของ John Locke ก็มีบทบาทสำคัญในการให้นิยามกฎหมายในช่วงต่อมาซึ่งจะปรากฏในข้อที่ 4 -5 ที่ว่า กฎหมายคือคำสั่งที่หมู่ชนยอมรับรองโดยตรงหรือโดยปริยาย...............และ พร้อมที่จะให้มีการบังคับเพื่อปฏิบัติตาม และกฎหมายคือการแสดงออกของเจตนารมณ์ร่วมกันของ ประชาชน...........................และใช้บังคับกับประชาชนทุกคนอย่างเท่า เทียมกันไม่ว่าจะเป็นการป้องกันหรือการลงโทษ

ขณะที่ T.Hobbes เห็นว่าโดยธรรมชาติมนุษย์จะทำสงครามกันอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและให้สังคมดำรงอยู่อย่างมั่นคงและ ปลอดภัย รัฐาธิปัตย์ในฐานะ “ ผู้มีอำนาจกลางสูงสุด ” จึงต้องออกคำสั่งหรือข้อบังคับใช้กับทุกคนในสังคม ตรงกันข้าม John Locke กลับมองในแง่ดีว่า มนุษย์นั้นมีลักษณะที่ดีติดตัวมา สามารถควบคุมตัวเองได้ เมื่อต้องอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนและติดต่อสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดังนั้น กฎหมายหรือคำสั่งของรัฐาธิปัตย์จึงมรฐานะเป็นแนวทางกว้างๆหรือโครงร่าง ( Framework ) ที่กำหนดให้มนุษย์ได้รู้จักใช้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติต่อบุคคลอื่นๆ ซึ่งกฎหมายไม่ใช่เครื่องมือของรัฐาธิปัตย์ที่จะใช้ควบคุมความประพฤติของ มนุษย์ทุกย่างก้าว

John Locke เองไม่ได้ให้ความสำคัญต่อกฎหมายในแง่ของการบังคับแต่ให้ความสำคัญในฐานะที่ เป็น ( Framework ) ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคมและความ สัมพันธ์ในการผลิต โดยรัฐาธิปัตย์มีหน้าที่เข้ามาช่วยเสริมความเป็นระเบียบในสังคมเพื่อให้ความ สัมพันธ์ดังกล่าวดำเนินไปอย่างราบรื่นโดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินส่วนบุคคล John Locke ถือว่าเป็นสิทธฺทางธรรมชาติที่มนุษย์ต้องการให้รัฐาธิปัตย์ปกป้องคุ้มครอง ด้วยกฎหมายรวมทั้งเรื่องของสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย และสิทธิในการรับมรดกหรือกล่าวได้ว่าเป็นความต้องการของบุคคลที่จะให้รัฐ คุ้มครองป้องกันทรัพย์สินส่วนตัว

จากแนวความคิดของ John Locke และนิยามความหมายของกฎหมายในข้อ 4-5 เราจะพบว่ามันเป็นคำนิยามที่สอดคล้องกับสังคมเสรีนิยมโดยเฉพาะประเทศในยุโรป และอเมริกาซึ่งในทางการเมืองขณะนั้นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ( Democracy – Democratie ) ได้รับการต้อนรับจากประชาชนในประเทศเสรีนิยมอย่างกว้างขวาง ขณะที่เศรษฐกิจระบบทุนนิยมก็ขยายขอบเขตปริมณฑลออกไปอย่างรวดเร็ว

คำนิยามสุดท้ายที่ว่า “ กฎหมายคือ เครื่องมือที่รับรองผลประโยชน์ของชนชั้นปกครองในการที่จะรักษาสภาพที่ไม่ เท่าเทียมกันในสังคม เพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นตน ” เป็นความหมายที่ได้รับอิทธิพลทางอุดมการณ์และทรรศนะสังคมนิยมที่เห็นว่าใน สังคมหนึ่งๆ ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมต่างๆและชนชั้นหนึ่งในสังคมคือชนชั้นปกครองที่มี อำนาจอยู่ในมือจะออกกฎหมายมาบังคับใช้บุคคลทั้งหลายเพื่อประโยชน์ของชนชั้น ปกครอง ดังนั้น ถ้านายทุนปกครองประเทศกฎหมายที่ออกมาจะมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาผลประโยชน์ ของชนชั้นนายทุน

นิยามคำว่ากฎหมายทั้ง 6 ข้อที่กล่าวมา แม้ว่าจะเกิดจากแนวความคิดอิทธิพลทางอุดมการณ์และเงื่อนไขความเป็นจริงทาง การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่แตกต่างกัน แต่โดยวัตถุประสงค์และวิธีการออกกฎหมายมาใช้บังคับก็ไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะ “ กฎหมายจะถูกจัดทำโดยผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือองค์กรมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของ บุคคลในสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและบุคคลของรัฐ ถ้ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ย่อมถูกลงโทษ”

ความสำคัญของกฎหมาย

ในสังคมของมนุษย์นั้นมีสมาชิกจำนวนมากที่มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิดเห็นและพฤติกรรมต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีกฎระเบียบหรือกติการ่วมกัน เพื่อเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่างๆ ดังนี้

1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ เมื่ออยู่รวมกันเป็นสังคมทุกคนจำเป็นต้องมีบรรทัดฐาน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติยึดถือเพื่อความสงบเรียบร้อย ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม

2. กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พลเมืองไทยทุกคนต้องปฏิบัติตนตามข้อบังคับของกฎหมาย ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ กฎหมายจะเกี่ยวข้องกับ การดำรงชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย

3. กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม คนเราทุกคนย่อมต้องการความ ยุติธรรมด้วยกันทั้งสิ้น การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดถูกต้องหรือไม่นั้น ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ ฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นกฎเกณฑ์สำคัญที่เป็นหลักของความยุติธรรม

4. กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทางใด หรือคุณภาพของพลเมืองเป็นอย่างไร จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาใช้บังคับ เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดไว้ ดังจะเห็นได้จากการที่กฎหมายได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้น ฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐเป็นผู้จัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บ ค่าใช้จ่ายนั้น ย่อมส่งผลให้ คุณภาพด้านการศึกษาของประชาชนสูงขึ้น หรือการที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ พิทักษ์ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ย่อมทำให้สังคมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนมีมาตรฐานดีขึ้น

ดังนั้น การที่ประเทศใดจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เป็นไปในแนวทางใดก็ตามถ้าได้ มีบทบัญญัติของกฎหมายเป็นหลักการให้ทุกคนปฏิบัติตาม ก็ย่อมทำให้การพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนประสบผลสำเร็จได้สูงกว่าการปล่อยให้เป็นไปตามวิถีการ ดำเนินชีวิตของสังคมตามปกติ

องค์ประกอบของกฎหมาย

ก. ประเภทขององค์ประกอบพิจารณาจากแง่การกระทำที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด

๑.องค์ประกอบภายนอก
ได้แก่ การกระทำและสิ่งต่าง ๆ ที่กฎหมายอาญาบัญญัติว่าเป็นความผิด เท่าที่ปรากฏออกมา
ภายนอก คือเท่าที่ปรากฏออกมาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย หลักในการแบ่งแยกองค์ประกอบ
ความผิดแต่ละความผิดนั้น คือ จะต้องตั้งต้นที่ "การกระทำ" ที่กฎหมายบัญญัติไว้เสียก่อน
ข้อยกเว้นมีในกรณีที่กฎหมายได้กำหนดคุณสมบัติของผู้กระทำด้วย เช่น กำหนดว่าผู้กระทำ
จะต้องเป็นเจ้าพนักงานจึงจะทำผิดได้

๒.องค์ประกอบภายใน
ได้แก่ เป็นเรื่องที่กฎหมายที่กำหนดความผิดได้กำหนดไว้เกี่ยวกับจิตใจของผู้กระทำผิด คือ
เจตนา มูลเหตุชักจูงใจและประมาท
เจตนา (ป.อ.มาตรา ๕๙) เมื่อกฎหมายกำหนดว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิดแล้ว บุคคลนั้น
ต้องกระทำโดยเจตนาจึงจะมีความผิด เว้นแต่ จะเข้าข้อยกเว้น กล่าวคือ (๑) กฎหมายบัญญัติไว้
โดยชัดแจ้งว่าเป็นความผิด (๒) ความผิดลหุโทษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่ง
แม้ไม่ได้กระทำโดยเจตนาก็เป็นความผิด เว้นแต่ถ้อยคำในตัวบทจะแสดงว่าต้องเจตนาจึงจะ
เป็นความผิด และ (๓) ความผิดตามพระราชบัญญัติอื่น ซึ่งระบุไว้ชัดแจ้งว่าแม้ไม่ได้กระทำ
โดยเจตนาก็เป็นความผิด
ประมาท (ป.อ.มาตรา ๕๙) จะเป็นความผิดต่อเมื่อกฎหมายได้ระบุไว้ในมาตราที่บัญญัติถึง
ความผิดนั้นว่า การกระทำโดยประมาทมีความผิด ดังนั้น ถ้ามาตราใดในประมวลกฎหมาย
อาญาไม่มีคำว่า "ประมาท" แล้ว ต้องถือว่าผู้กระทำต้องมีเจตนาธรรมดาจึงจะมีความผิด
ทั้งนี้ นอกจากข้อยกเว้น อีก ๒ ประการที่ มาตรา ๕๙ บัญญัติไว้ คือ
(๑) ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา ซึ่ง
หมายถึงกฎหมายอื่นนอกจากประมวลกฎหมายอาญา
(๒) ข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๐๔ บัญญัติว่า "การกระทำความผิด
ลหุโทษตามประมวลกฎหมายนี้ แม้กระทำโดยไม่มีเจตนาก็เป็นความผิด เว้นแต่ ตาม
บทบัญญัติความผิดนั้นจะมีความบัญญัติให้เห็นเป็นอย่างอื่น"

ข.ประเภทขององค์ประกอบพิจารณาจากแง่ลักษณะขององค์ประกอบนั้นเอง

๑.องค์ประกอบในทางรับ
เป็นองค์ประกอบปรกติของความผิด ซึ่งหมายความรวมถึงองค์ประกอบภายนอกและ
องค์ประกอบภายในด้วย องค์ประกอบในทางรับนี้มิได้มีเฉพาะในเรื่องความผิด แต่มีในเรื่อง
เหตุเพิ่มโทษและเรื่องอื่น ๆ เช่น เจตนาด้วย

๒.องค์ประกอบในทางปฏิเสธ
หมายความถึง องค์ประกอบที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าถ้าเข้าองค์ประกอบดังกล่าวแล้ว ก็จะไม่
เป็นความผิดตามมาตราที่ระบุไว้ องค์ประกอบในทางปฏิเสธนี้มิใช่มีอยู่เฉพาะในเรื่อง
ความผิดเท่านั้น แม้ในเรื่องอื่นก็มีเหมือนกัน เช่น เรื่องประมาทตามมาตรา ๕๙ วรรคสี่
ซึ่งใช้คำว่า "กระทำโดยประมาท ได้แก่ ความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจาก
ความระมัดระวัง..." คำว่า "ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา" ย่อมเป็นองค์ประกอบ
ในทางปฏิเสธ กล่าวคือ ถ้าปรากฏว่าผู้กระทำโดยเจตนา ไม่ว่าจะเป็นเจตนาโดยประสงค์
ต่อผลหรือเจตนาโดยย่อมเล็งเห็นผล ย่อมจะเป็นความผิดฐานประมาทไม่ได้เลย

๓.องค์ประกอบในทางอธิบาย
ในตัวของมันเองไม่ได้ประกอบเป็นความผิด มันเป็นแต่อธิบายความผิดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เท่านั้น เช่น
มาตรา ๒๗๗ บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี... โดยเด็กหญิง
นั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษ..." จะเห็นได้ว่า คำว่า "โดยเด็กหญิงนั้นจะ
ยินยอมหรือไม่ก็ตาม" นั้นเป็นแต่คำอธิบายเท่านั้น ผู้ใดกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน
สิบห้าปีย่อมมีความผิดเสมอ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความยินยอมของเด็กหญิงนั้น


ประเภทของกฎหมาย


การแบ่งแยกประเภทของกฎหมาย กฎหมายแบ่งแยกตามข้อความของกฎหมายได้เป็น 3 ประเภท

(1) กฎหมายมหาชน (Public Law)

(2) กฎหมายเอกชน (Private Law)

(3) กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)

1. กฎหมายมหาชน (Public Law) ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎร ในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองราษฎร กล่าวคือในฐานะที่รัฐมีฐานะเหนือราษฎร แบ่งแยกสาขากฎหมายมหาชนได้ ดังนี้

(1) รัฐธรรมนูญ

(2) กฎหมายปกครอง

(3) กฎหมายอาญา

(4) กฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

(5) กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา

(6) กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง

(1) รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายที่ว่าด้วยระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดในรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนั้น ๆ ต่อกันและกัน ลักษณะทั่วไปคือ

ก. กำหนดระเบียบแห่งอำนาจสูงสุด อำนาจอธิปไตย ใครเป็นเจ้าของ (มาตรา

3 แห่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บัญญัติว่า อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทยพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาลตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้)

ข. รัฐธรรมนูญต้องมีข้อความกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติอำนาจบริหาร อำนาจตุลาการต่อกันและกัน

(2) กฎหมายปกครอง ได้แก่กฎหมายที่กำหนดรายละเอียดในการปกครองลดหลั่นลง

จากกฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยอำนาจการปกครองประเทศแต่กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการปกครอง ซึ่งในกฎหมายนี้จะกล่าวถึงการจัดระเบียบแห่งองค์การปกครอง (เช่น จัดแบ่งออกเป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือ เทศบาล สุขาภิบาล ฯลฯ ความเกี่ยวพันระหว่างองค์การเหล่านี้ต่อกันและกัน และความเกี่ยวกับระหว่างองค์การเหล่านี้กับราษฎร) กฎหมายปกครองไม่ได้รวบรวมขึ้นในรูปของประมวลกฎหมาย กฎหมายต่าง ๆ ที่อยู่ในสาขากฎหมายปกครองเป็นจำนวนมาก อาทิ เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องถิ่น พระราชบัญญัติจัดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พระราชบัญญัติเทศบาล พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด และพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล

(3) กฎหมายอาญา ได้แก่กฎหมายที่บัญญัติถึงความผิดและโทษ แยกพิจารณาได้ดังนี้

การบัญญัติความผิด หมายความว่า การบัญญัติว่าการกระทำและการงดเว้นการกระทำอย่างใดเป็นความผิดอาญา

การบัญญัติโทษ หมายความว่า เมื่อใดบัญญัติว่าการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำอย่างใดเป็นความผิดแล้ว ก็ต้องบัญญัติโทษอาญาสำหรับความผิดนั้นไว้ด้วย

ประมวลกฎหมายอาญาแบ่งออกเป็น 3 ภาค ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป ภาค 2 ความผิด ภาค 3 ลหุโทษ ภาค 1 ตามมาตรา 17 แห่งประมวลกฎหมายอาญาให้นำไปใช้ในกรณีความผิดตามกฎหมายอื่นได้ด้วย

หลักเกณฑ์สำคัญ ของประมวลกฎหมายอาญา มีดังนี้

(1) จะไม่มีความผิดโดยไม่มีกฎหมาย [1]

(2) จะไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย โทษอย่างไรก็ต้องลงอย่างนั้น จะให้ลงโทษอย่างอื่นไม่ได้

(3) จะต้องตีความกฎหมายอาญาโดยเคร่งครัด

(4) การอุดช่องว่างแห่งกฎหมาย อุดช่องว่าเป็นผลร้ายแก่จำเลยไม่ได้

(5) จะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อให้จากความรับผิดไม่ได้(มาตรา64)

หลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญา มี 3 ข้อ

1. ต้องมีการกระทำ

2. การกระทำนั้นเข้าองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด

3. ไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ หรือ ไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด

(4) กฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม หมายความถึงกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลและอำนาจในการพิจารณาพิพากษาของศาลและของผู้พิพากษา มีหลักการดังนี้

(1) หลักอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ต้องเป็นของศาลโดยเฉพาะ

(2) หลักการจัดตั้งศาล จัดตั้งศาลต้องกระทำโดยพระราชบัญญัติ

(3) หลักการห้ามตั้งศาลพิเศษ

(4) หลักการผู้พิพากษาย่อมมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีซึ่งตามรัฐธรรมนูญให้หลักประกันไว้ 2 ประการ คือ

(ก) การแต่งตั้ง ย้าย ถอดถอน ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการก่อนแล้วจึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งและถอดถอนหรือโยกย้ายได้

(ข) การเลื่อนตำแหน่งการเลื่อนเงินเดือน ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการ หลักประกันทั้ง 2 ประการ ดังกล่าวทำให้ผู้พิพากษาเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร เพราะฝ่ายบริหารจะให้คุณหรือโทษผู้พิพากษาไม่ได้ คณะกรรมการตุลาการเป็นคนกลางไม่ขึ้นต่อฝ่ายบริหาร

(5) กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2477 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เป็น กฎหมายที่บัญญัติถึงกระบวนการที่จะนำตัวผู้กระความความผิดมารับโทษตามความ ผิดที่กำหนดในประมวลกฎหมายอาญา เริ่มตั้งแต่ ขอบเขตของเจ้าพนักงานตำรวจ อัยการ และศาลในการพิจารณาคดี หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาคดีเพื่อให้ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ

(6) กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

(1) หลักการเริ่มคดีอยู่ที่คู่ความ ไม่ว่าจะเป็นตัวฟ้องก็ดี คำให้การก็ดี หรือคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีแพ่งก็ดี คู่ความจะต้องระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของตนเอง

(2) การพิจารณาดำเนินไปโดยเคร่งครัดต่อแบบพิธี เช่นว่า การยื่นเอกสารจะต้องยื่นต้นฉบับ หรือกรณีใดยื่นสำเนาเอกสารได้ เป็นต้น เพราะการปฏิบัติไม่ถูกต้องอาจมีผลให้ศาลไม่รับฟังพยานเอกสารนั้น

(3) ไม่จำเป็นต้องถือเอาความสัตย์จริงเป็นใหญ่ เพราะคู่ความต้องระวังรักษาผลประโยชน์ของตนเอง เช่น คดีฟ้องของเรียกเงินกู้ ความจริงมิได้กู้ แต่จำเลยเห็นว่าเป็นจำนวนเงินเล็กน้อย จึงยอมรับว่ากู้มาจริง ศาลก็ต้องพิพากษาให้เป็นไปตามฟ้องของโจทก์และคำรับของจำเลย เว้น แต่ในกรณีที่ศาลอาจยกข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้น มาอ้างได้ ศาลอาจวินิจฉัยไปโดยไม่ฟังคำรับของคู่ความก็ได้

2. กฎหมายเอกชน(Private Law) ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกันในฐานะเท่าเทียมกัน เช่นเรื่องสัญญาซื้อขาย ก. ทำสัญญาซื้อขายกับ ข. ก. กับ ข. ต่างก็อยู่ในฐานะเท่าเทียมกัน ก. จะบังคับ ข. ให้ตกลงกับ ก. อย่างใด ๆ โดย ข. ไม่สมัครใจไม่ได้ มีข้อที่ควรสังเกตว่าในบางกรณีรัฐก็ได้เข้ามาทำสัญญากับราษฎร ในฐานะที่รัฐเป็นราษฎรได้ ซึ่งก็ต้องมีความสัมพันธ์เหมือนสัญญาซื้อขายระหว่างบุคคลธรรมดา กฎหมายเอกชนที่กล่าวไว้ในที่นี้ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายอื่น ๆ โดยสรุป

(1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีลักษณะเป็นประมวลกฎหมายแบ่งแยกออกเป็นหลายลักษณะด้วยกัน เช่น นิติกรรมสัญญา หนี้ ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ ละเมิด ตัวแทน นายหน้า เป็นต้น ในแต่ละลักษณะได้กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ไว้ ในการศึกษากฎหมายของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์แทบทุกมหาวิทยาลัย จะมีการศึกษาถึงเนื้อหารายละเอียดในกฎหมายนั้น ๆ แต่ละลักษณะ แต่ในที่นี้ที่กล่าวถึงไว้ก็เพียงเพื่อให้ทราบว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีลักษณะเป็นกฎหมายเอกชน เท่านั้น

(2) กฎหมายอื่น ๆ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนในฐานะเท่าเทียมกัน อันมีลักษณะเป็นกฎหมายเอกชนยังมีอยู่อีกมาก อันได้แก่พระราชบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษอื่น อย่างเช่น ประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งจำกัดสิทธิในการมีที่ดินของบุคคลบางประเภท เช่น คนต่างด้าว เป็นต้น พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่านา พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ซึ่งมีลักษณะเป็นกึ่งกฎหมายมหาชนและกึ่งกฎหมายเอกชน เพราะมีบทบัญญัติให้เจ้าพนักงานเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง

3. กฎหมายระหว่างประเทศ(International Law) หมายถึง กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกัน และแบ่งแยกออกตามความสัมพันธ์ได้ 3 สาขา คือ

(1) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกันในฐานะที่รัฐเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น กำหนดข้อบังคับการทำสงครามระหว่างกันและกัน

(2) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกันในทางคดีบุคคล คือ ในทางเอกชนหรือในทางแพ่ง กฎหมาย นี้จะกำหนดว่าถ้าข้อเท็จจริงพัวพันกับต่างประเทศในทางใดทางหนึ่ง เช่น การสมรสกับหญิงที่เป็นคนต่างด้าว หรือการซื้อขายของที่อยู่ในต่างประเทศจะใช้กฎหมายภายในประเทศ (คือกฎหมายไทย) หรืออาจใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับแก่คดีนั้น ๆ

(3) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกันทางคดีอาญา เช่น กำหนดว่าการกระทำความผิดนอกประเทศในลักษณะใดบ้างจะพึงฟ้องร้องในประเทศไทย ตลอดจนวิธีส่งผู้ร้ายข้ามแดน เป็นต้น



ศักดิ์ของกฎหมาย

ศักดิ์ของกฎหมาย (อังกฤษ: hierachy of law) คือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมาย

การ จัดศักดิ์ของกฎหมายมีความสำคัญต่อกระบวนวิธีการต่าง ๆ ทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ การตีความ และการยกเลิกกฎหมาย เช่น หากกฎหมายฉบับใดมีลำดับชั้นของกฎหมายสูงกว่า กฎหมายฉบับอื่นที่อยู่ในลำดับต่ำกว่าจะมีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับกฎหมายสูง กว่านั้นมิได้ และอาจถูกยกเลิกไปโดยปริยาย

[แก้> เกณฑ์ในการกำหนดศักดิ์ของกฎหมาย

เกณฑ์ในการกำหนดศักดิ์ของกฎหมายได้แก่ การพิจารณาจากผู้ตรากฎหมายฉบับนั้น ๆ ซึ่งย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ

สำหรับ ประเทศไทยนั้น รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยผู้แทนของปวงชนคือรัฐสภา เป็นการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาร่วมกันใช้อำนาจสูงสุดแห่งรัฐในการออก กฎหมาย จึงให้มีศักดิ์สูงสุด ส่วนที่มีศักดิ์รองลงมาได้แก่ พระราชบัญญัติ และพระราชกำหนด ซึ่งได้รับการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรก่อนแล้วจึงผ่านไปยังวุฒิสภา เป็นการแยกกันใช้อำนาจ

[แก้> ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย

ว่ากันแต่ ประเทศไทยในปัจจุบัน มีทั้งกฎหมายลายลักษณ์อักษร กฎหมายจารีตประเพณี และหลักกฎหมายทั่วไป แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่ากฎหมายส่วนใหญ่ของไทยอยู่ในรูปลายลักษณ์อักษร มากที่สุด[40>

[แก้> กฎหมายที่เป็นลายลักษ์อักษร

รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายสูงสุดที่กำหนดรูปแบบการปกครองและระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนรับรองและส่งเสริมสิทธิต่าง ๆ ของประชาชนทั้งประเทศ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายอื่นทุกฉบับ กฎหมายอื่นจึงจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้ มิเช่นนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้เลย

มักมีผู้เรียก "รัฐธรรมนูญ" ว่า "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" พึงทราบว่า "กฎหมายรัฐธรรมูญ" (อังกฤษ: constitutional law) นั้นเป็นคำเรียกสาขาวิชาทางนิติศาสตร์และเรียกกฎหมายมหาชนแขนงหนึ่งซึ่งว่า ด้วยการวางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง ส่วน "รัฐธรรมนูญ" (อังกฤษ: Constitution) นั้นคือกฎหมายจริง ๆ ฉบับหนึ่งซึ่งจัดระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง[1> [41>

กฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายชนิดนี้อยู่ในรูปของพระราชบัญญัติในประเทศไทย และมีศักดิ์เดียวกันกับพระราชบัญญัติ[42> แต่มีวิธีการตราที่พิสดารกว่าพระราชบัญญัติเนื่องเพราะเป็นกฎหมายที่อธิบาย รายละเอียดต่าง ๆ ของรัฐธรรมนูญ

พระราชบัญญัติ และประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายชั้นรองลงมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นกฎหมายที่ถือได้ว่าคลอดออกมาจากท้องของรัฐธรรมนูญโดยตรง องค์กรที่มีหน้าที่ตรากฎหมายสองประเภทนี้ได้แก่รัฐสภา

พระ ราชกำหนด เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจในการตราให้แก่ฝ่ายบริหารคือคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ใช้ในกรณีรีบด่วนหรือฉุกเฉิน พระราชกำหนดนั้นเมื่อมีการประการใช้แล้วคณะรัฐมนตรีต้องนำเสนอต่อรัฐสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ถ้ามิได้รับความเห็นชอบก็เป็นอันสุดสุดลง แต่ผลของการสิ้นสุดลงนี้ไม่กระทบกระเทือนบรรดาการที่ได้กระทำลงระหว่างใช้ พระราชกำหนดนั้น

พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดซึ่งเป็นหลักการย่อย ๆ ของพระราชบัญญัติหรือของพระราชกำหนด เปรียบเสมือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่อธิบายขยายความใน รัฐธรรมนูญ

กฎองค์การบัญญัติ เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตราขึ้นและใช้บังคับภายในเขตอำนาจ ของตน ได้แก่ ข้อบังคับตำบล เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา เนื่องจากอำนาจในการตรากฎหมายประเภทนี้ได้รับมาจากพระราชบัญญัติ โดยทั่วไปจึงถือว่ากฎองค์การบัญญัติมีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ[43> ชั่วแต่ว่าใช้บังคับภายในเขตใดเขตหนึ่งเป็นการทั่วไปเท่านั้น

กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารและไม่ต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากรัฐสภา มีลักษณะคล้ายพระราชกฤษฎีกาเพราะศักดิ์ของผู้ตราต่างกัน

รองศาสตราจารย์ ทัชชมัย ฤกษะสุต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า "เมื่อพระราชกฤษฎีกากับกฎกระทรวงมีความใกล้เคียงกันมาก ข้อที่พิจารณาให้เห็นถึงความแตกต่างกันว่าควรจะออกกฎหมายในรูปพระราชกฤษฎีกา หรือกฎกระทรวงนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เนื้อหาของกฎหมายที่ต้องการบัญญัตินั้นมีความสำคัญเพียงใด ซึ่งหากมีความสำคัญเป็นอย่างมากจะออกมาในรูปของพระราชกฤษฎีกา แต่ถ้ามีความสำคัญน้อยกว่าก็ออกในรูปของกฎกระทรวง"[44>

[แก้> ผลการจัดศักดิ์ของกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร

1. การออกกฎหมายที่มีศักดิ์ของกฎหมายต่ำกว่าจะออกได้โดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายที่ มีศักดิ์สูงกว่าหรือตามที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้อำนาจไว้

2. กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายศักดิ์สูงกว่า จะออกมาโดยมีเนื้อหาเกินกว่าขอบเขตอำนาจที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้ไว้มิได้ มิฉะนั้นจะใช้บังคับมิได้เลย

3. หากเนื้อหาของกฎหมายมีความขัดแย้งกัน ต้องใช้กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าบังคับ ไม่ว่ากฎหมายศักดิ์สูงกว่านั้นจะออกก่อนหรือหลังกฎหมายศักดิ์ต่ำกว่านั้น