หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 -กฎหมายหลักที่ใช้ปกครองประเทศ

กฎหมายรัฐธรรมนูญ

ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญซึ่งถือว่าเป็นกฎหมาย ที่สำคัญสูงสุดของประเทศที่มี การปกครองในระบอบประชาธิปไตย การปกครองในระบอบประชาธิปไตยเริ่มต้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ หัว ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อ พ.ศ.2475 เป็นต้นมา ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขและประกาศใช้รัฐธรรมนูญหลายฉบับเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้อง กับภาวะการณ์บ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัย โดยปัจจุบันใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 16
     
          สาเหตุที่มีรัฐธรรมนูญฉบับ ปัจจุบันเพราะพัฒนาการทางการเมืองไทยมีปัญหา จึงจำเป็นต้องมีการปฏิรูปทางการเมือง และนำไปสู่การมีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 นี้ ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด
          1.1 จุดเด่นของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 คือ
                 1. รับรองและส่งเสริมการเคารพคุณค่าและศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์
                 2. คุ้มครอง สิทธิ เสรีภาพของประชาชน และเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน
                 3. เพิ่มอำนาจประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ
                 4. ปรับปรุงโครงสร้างทางการเมือง ให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ
          1.2 สิทธิ หน้าที่และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
                 การเป็นพลเมืองไทย ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขนั้น บุคคลจะต้องเรียนรู้สิทธิ เสรีภาพ และปฏิบัติหน้าที่ของตนตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นการเข้าใจความหมายของ สิทธิ เสรีภาพและหน้าที่จึงเป็นสิ่งสำคัญ
                 สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือผลประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครอง บุคคลอื่นจะละเมิดล่วงเกิน หรือกระทำการใด ๆ ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของบุคคลอื่นไม่ได้ เช่น สิทธิในการเลือกตั้ง
                 เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระในการทำของบุคคลหรืองดเว้นที่จะทำและการทำนั้นต้องไม่ขัดต่อ กฎหมาย เช่น เสรีภาพในการนับถือศาสนา การพูด การเขียน เป็นต้น
                 หน้าที่ หมายถึง ภาระหรือความรับผิดชอบที่บุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น หน้าที่ รับราชการทหาร เสียภาษี ช่วยเหลือราชการตามกฎหมาย หน้าที่รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และอยู่ภายใต้การปกครองระบอบประชา ธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ
                 สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงมีโดยเสมอภาคกัน เพื่อการดำรงชีวิตได้อย่าง มีศักด์ิศรี มีโอกาสเท่าเทียมกันในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่และ สร้างสรรค์ ดังนั้นจึงเป็นสิทธิที่ได้มาพร้อมกับการเกิดและเป็นสิทธิติดตัวบุคคลนั้น ตลอดไปไม่ว่าจะอยู่ในเขตปกครองใด หรือเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาใด ๆ
 

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน


พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534- ปัจจุบัน
มีผลบังคับใช้ในวันถัดไปหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศเมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2534
แก้ไขมาแล้ว 6 ฉบับ จนถึงปัจจุบัน
ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดังนี้ 1. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง 2. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค 3. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบไปด้วย สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการอื่นที่ไม่สังกัด
การจัดตั้ง การรวม หรือการโอนส่วนราชการ ให้ตราเป็น พรบ. แต่ถ้าไม่การกำหนดตำแหน่งข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มให้ตราเป็น พรฎ.
ให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงบประมาณ มีหน้าที่ตรวจสอบดูแลมิให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการลูกจ้างขึ้นใหม่ จนกว่าจะครบกำหนด 3 ปี นับจากวันที่ พรฎ.มีผลบังคับใช้
การยุบส่วนราชการตราเป็น พรฎ.
การรับโอนข้าราชการให้กระทำได้ภายใน 30 วัน นับจาก พรฎ. บังคับใช้
สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ให้แก้ไขเป็นสำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา ให้เลขาธิการและรองเลขาธิการฝ่ายการเมือง เป็นข้าราชการการเมือง และให้รองเลขาธิการนายกฝ่ายบริหาร และผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองเลขาฯคณะรัฐมนตรี และผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญรวมถึงปลัดสำนัก นายก รองปลัดสำนักนายก และผู้ช่วยปลัดสำนักนายก
เลขานุการรัฐมนตรีเป็นข้าราชการการเมือง
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารของคณะรัฐมนตรีและราชการในพระองค์
ก่อนคณะรัฐมนตรีจะให้ความเห็นชอบในร่าง พรฎ. จัดตั้งส่วนราชการ ให้นายกรัฐมนตรีส่งร่าง พรฎ. ต่อสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เพื่อทราบ
การปฏิบัติราชการแทน ให้มีการมอบอำนาจเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้ผู้ว่า เป็นการยกเว้น สามารถกระทำได้ทุกกรณีแทนทุกคน
เมื่อมีการมอบอำนาจแล้วผู้รับมอบอำนาจนั้นจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ผู้ดำรง ตำแหน่งอื่นมิได้ เว้นแต่มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายต่อ
นายกจะมอบหมายให้รองนายกปฏิบัติราชการแทนในส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อนายกได้
การรักษาราชการแทน ให้กระทำได้เมื่อเจ้าของเรื่องไม่อยู่และไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
การบริหารราชการในต่างประเทศ คณะผู้แทน คือข้าราชการ ทหารประจำการในต่างประเทศ ณ สถานเอกอัคราชทูต กงสุล หรือส่วนราชการในต่างประเทศ
การสั่ง และการปฏิบัติราชการของกระทรวง ทบวง กรม ต่อบุคคลในคณะผู้แมนให้เป็นไปตามระเบียบคณะรัฐมนตรีกำหนด
กรมหนึ่งมีอธิบดีคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบการปฏิบัติราชการของกรมโดยการใช้อำนาจให้คำนึงถึงนโยบายคณะรัฐมนตรี
การบริหารส่วนกลาง เป็นการบริหารแบบรวมอำนาจ
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบไปด้วย จังหวัด และอำเภอ
การตั้งยุบ เปลี่ยนแปลง เขตจังหวัดให้ตราเป็น พรบ. มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ในจังหวัดหนึ่งๆ ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้รับนโยบายจากนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติให้เหมาะสมกับพื้นที่
การยกเว้น จำกัด ตัดตอนอำนาจของผู้ว่าให้ตราเป็น พรบ.
คณะกรรมการจังหวัด ประกอบไปด้วยผู้ว่า เป็นประธาน / รองผู้ว่า ปลัดจังหวัด ผู้บังคับบัญชาตำรวจจังหวัด อัยการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดอื่นๆ เป็นคณะกรรมการ / ให้หัวหน้าสำนักงานจังหวัด เป็นเลขานุการ และกรรมการ
การยุบ และการเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอให้ตราเป็น พรฎ. ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ให้มีนายอำเภอเป็นผู้บังคับบัญชา
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นการบริหารแบบแบ่งอำนาจ
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย อบจ. เทศบาล อบต. และราชการอื่นที่กำหนด สุขาภิบาลได้ยกฐานะเปลี่ยนเป็นเทศบาล ปัจจุบันไม่มีสุขาภิบาล
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รัฐมนตรี 1 คน ที่ได้รับมอบหมายเป็นรองประธาน บุคคลที่คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีก 1 คน ผู้ทรงคุณวุฒิอีก 10 คน รวมทั้งสิ้น 13 คน
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 คน ต้องทำงานเต็มเวลา ให้จ่ายเงินตาม พรฎ.
เลขาธิการ กพร. เป็นกรรมการและเลขาธิการโดยตำแหน่ง เป็นข้าราชการพลเรือน
กรรมการมีวาระ 4 ปี เป็นได้ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน ถ้าตำแหน่งว่างลงให้แต่งตั้งภายใน 30 วัน
สำนักงาน ก.พ.ร.เป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ไม่มีฐานะเป็นกรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารแบบกระจายอำนาจ
พรฎ. แบ่งส่วนราชการภายในกระทรวง ทบวง กรม ให้แก้ไขให้เสร็จภายใน 2 ปี


ปัญหาการใช้กฎหมาย ความจำเป็นที่จะต้องรู้และปฏิบัติตนตามกฎหมาย  

ญหาประการหนึ่งของประเทศที่กำลังพัฒนา คือ สภาพโครงสร้างของระบบบริหาร และระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติหน้าที่ราชการที่ไม่สามารถพัฒนาและปรับตนเอง ได้ทันกับการผันแปรอย่างรวดเร็วของสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวความคิดของนักกฎหมายซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในองค์กร อยู่สถาบันต่าง ๆ ก็อาจปรับตนเองได้ไม่ทันกาลกับกฎหมายสาขาต่าง ๆ ที่รัฐได้ตราขึ้นมาใช้

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า กฎหมายเป็นบรรทัดฐานทางสังคมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนอง เดียวกัน  ทำให้สังคมมีระเบียบ วินัย และสงบเรียบร้อย หากไม่มีกฎหมาย มนุษย์ซึ่งมักจะชอบทำอะไรตามใจตนเอง ถ้าต่างตนต่างทำตามใจและการกระทำนั้นทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ก็จะเกิดปัญหา ความขัดแย้ง มีการล้างแค้นได้โต้ตอบกันไปโต้ตอบกันมาไม่มีที่สิ้นสุด เพราะไม่มีกฎหมายเข้าไปจัดการให้ความเป็นธรรม ในที่สุดสังคมนั้นประเทศนั้นก็จะล่มสลายไม่สามารถดำรงอยู่ได้
                ปัจจุบันนี้ในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าใครจะทำอะไรก็จะต้องมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยตลอดเวลา เช่น เมื่อมีคนเกิดก็ต้องแจ้งเกิด ต้องตั้งชื่อ ต้องเข้าโรงเรียน อายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ก็ต้องไปทำบัตรประจำตัวประชาชน นักเรียนที่อายุย่างเข้าปีที่ 18 ต้องไปลงบัญชีทหารกองเกิน การสมรสอยู่กินเป็นครอบครัว   การกู้ยืมเงิน ซื้อขาย การทำสัญญาต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ทั้งสิ้น
                รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประชาชนมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย การรู้กฎหมาย   จึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทุกคน ที่จะได้ทราบถึงของเขตของสิทธิ และหน้าที่ของตน ตลอดจนข้อปฏิบัติต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อรู้กฎหมายก็จะได้ไม่ทำผิดกฎหมาย และไม่ถูกผู้อื่นเอารัดเอาเปรียบโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ 
                การทำผิดกฎหมาย หรือปัญหาข้อขัดแย้ง ข้อพิพาทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างประชาชนด้วยกันเอง หรือประชาชนกับข้าราชการซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามเป็นข่าวฟ้องร้องกันไม่เว้นแต่ละวันนั้น มีสาเหตุมาจากความไม่รู้กฎมายทั้งสิน และเมื่อกระทำความผิดแล้วจะกล่าวอ้างแก้ตัวว่าที่กระทำลงไปนั้นเป็นเพราะไม่ รู้กฎหมาย เพื่อให้คนหลุดพ้นจากความรับผิดก็ไม่ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่รู้กฎหมายจริง ๆ ก็ตาม เนื่องจากในทางกฎหมายมีหลักเกณฑ์สำคัญประการหนึ่งว่า “ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว” เพราะถ้าหากว่าให้มีการกล่าวอ้างแก้ตัวได้ ทุกคนก็จะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายกันหมด   เพื่อให้คนหลุดพ้นจากความรับผิด ในที่สุดกฎหมายก็จะขาดความศักดิ์สิทธิ์ และบังคับใช้กับใครไม่ได้อีกต่อไป