วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติกรุงธนบุรี


กรุงธนบุรี เป็นราชธานีไทย ในช่วง พ.ศ. ๒๓๑๐ - ๒๓๒๕ มีที่ตั้งณ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เมืองธนบุรีเดิมหลังจากกรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ได้ทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ขึ้น พระราชทานนามว่า "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร" เมื่อจุลศักราช ๑๑๓๐ ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับพ.ศ. ๒๓๑๐ จวบจนถึง พ.ศ. ๒๓๒๕ นับเป็นเวลาแห่งราชธานีเพียง ๑๕ ปีเท่านั้นขณะที่กรุงศรีอยุธยาทำสงครามกับพม่าอยู่นั้น พระยาตากได้เห็นความอ่อนแอของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ และมองไม่เห็นหนทางที่จะเอาชนะข้าศึกได้ จึงไม่อยากอยู่ร่วมปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปบังเกิดขึ้นหลายครั้ง ดังนี้พระยาตากคุมทหารออกไปรบนอกเมือง และสามารถรบชนะข้าศึกได้แต่ทางการไม่ส่งทหารมาเพิ่ม จึงต้องเสียค่ายนั้นไปอีก พระยาตากได้รับบัญชาให้ยกกองทัพเรือออกไปรบพร้อมกับพระยาเพชรบุรี แต่พระยาตากเห็นว่าพม่ามีพลที่มากกว่า จึงห้ามไม่ให้พระยาเพชรบุรีไปออกรบ แต่พระยาเพชรบุรีไม่เชื้อฟัง จึงออกไปรบ และเสียชีวิตในสนามรบทำให้พระยาตากถูกกล่าวหาว่าทิ้งให้พระยาเพชรบุรีเป็นอันตราย ๓ เดือนก่อนกรุงแตก พม่ายกกองมาปล้นทางเหนือของพระนคร พระเจ้าตากเห็นการ จึงจำเป็นต้องขออนุญาตจากกรุงให้ใช่ปืนใหญ่ แต่ทางกรุงไม่อนุญาตพระยาตากจึงคิดว่าถ้ายังเป็นอย่างนี้ กรุงศรีอยุธยาจะต้องแตก พระยาตากจึงตัดสินใจตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกไป พร้อมกับขุนนางนายทหารผู้ใหญ่ตีฝ่าวงล้อมพม่า โดยนายทหารและขุนนางผู้ใหญ่มี พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงพิชัยราชา หลวงราชเสนา ขุนอภัยภักดี และหมื่นราชเสน่หา ออกไปตั้งค่ายที่ วัดพิชัยเมื่อเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีจอ จุลศักราช ๑๑๒๘ ตรงกับวันที่ ๓ มกราคมพ.ศ. ๒๓๑๐ พอไปถึงบ้านสำบัณฑิตเวลาเที่ยงคืนเศษ ก็แลเห็นแสงเพลิงไหม้จากพระนครเจ้าตากทรงพิจารณาเห็นว่า เมืองจันทบุรีเป็นเมืองที่ใหญ่ และยังอุดมสมบูรณ์ บ้านเรือนเป็นปกติสุขอยู่ เจ้าตากจึงทรงเกลี้ยกล่อมเมืองจันทบุรีให้มาช่วยกู้เอกราชพระยาจันทบุรีรับคำไมตรีในช่วงแรก แต่แล้ว พระยาจันทบุรีกลับไปร่วมมือกับขุนรามหมื่นส้อง วางแผนลวงให้เจ้าตากยกกองทัพเข้าไปตีเมืองจันทบุรีแล้วค่อยกำจัดเสียในภายหลัง แต่พระยาตากทรงรู้ทัน จึงทรงหยุดยั้งอยู่หน้าเมืองเมื่อเจ้าตากทรงพิจารณาเห็นว่าพระยาจันทบุรีหลงเชื่อคำของขุนรามหมื่นส้อง ไม่ยอมอ่อนน้อมให้แล้ว จึงตรัสให้ทหารทั้งปวง เทอาหารทิ้งทุบหม้อทุบต่อยหม้อแกงจนแหลกหมด แล้วจึงตรัสว่า วันนี้เราจะเอาเมืองจันทบุรีให้ได้ ไปหาข้าวของกินกันในเมือง หากไม่ได้ก็จงตายเสียให้สิ้นด้วยกันเถิด ครั้นตกดึกประมาณ๓ นาฬิกา เจ้าตากก็สามารถบุกเข้าเมืองได้ ตรงกับวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๑๐เจ้าตากจึงสามารถรวบรวมหัวเมืองตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราดได้เมื่อพระเจ้าตากทรงขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว ก็รวบรวมผู้คนทรัพย์สมบัติ และสิ่งต่าง ๆ ซึ่งสุกี้พระนายกองยังมิได้นำไปยังพม่า นำกลับมายังค่ายที่เมืองธนบุรี ปรากฏว่าที่เมืองลพบุรี มีพระบรมวงศานุวงศ์ของราชวงศ์อยุธยามาพำนักอยู่เป็นจำนวนมาก พระเจ้าตากจึงสั่งให้คนไปอัญเชิญมายังเมืองธนบุรีพระองค์ทรงขุดพระบรมศพของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ขึ้นมาถวายพระเพลิงตามราชประเพณี ต่อจากนั้น พระองค์ก็ทรงคิดที่จะปฏิสังขรณ์พระนครศรีอยุธยาให้กลับคืนเป็นดังเดิม แต่แล้วหลังจากตรวจดูความพินาจของเมือง ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อพยพผู้คนเคลื่อนลงมาทางใต้ ตั้งราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรีเรียกนามว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร

การปกครอง

การปกครองในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ยืดถือแบบการแบบกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

การปกครองส่วนกลาง

กรุงธนบุรีเป็นศูนย์กลาง มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง " เจ้าพระยา " จำนวน 2 ท่าน ได้แก่

  • สมุหนายก เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งในราชการฝ่ายทหารและพลเรือน ในฐานะเจ้าเสนาบดีกรมมหาดไทย ผู้เป็นจะมียศเป็น "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" หรือที่เรียกว่า "ออกญาจักรี"
  • สมุหพระกลาโหม เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งปวง ยศนั้นก็จะมี "เจ้าพระยามหาเสนา" หรือที่เรียกว่า "ออกญากลาโหม"

ส่วนจตุสดมภ์นั้นยังมีไว้เหมือนเดิม มีเสนาบดีตำแหน่ง " พระยา " จำนวน 4 ท่าน ได้แก่


การปกครองส่วนภูมิภาค

  • หัวเมืองชั้นใน จะมีผู้รั้งเมือง เป็นผู้ปกครอง จะอยู่รอบๆไม่ไกลจากราชธานี
  • เมืองพระยามหานคร จะแบ่งออกได้เป็น เมืองเอก โท ตรี จัตวา มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น