วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศาลยุติธรรมไทย


ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ... ฉบับรับฟังความคิดเห็น ที่ออกมา

ได้มีการเปลี่ยน แปลงบทบัญญัติและสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 อยู่พอสมควร โดยเฉพาะประเด็นหลักๆที่เป็นข้อถกเถียงถึงช่องว่างต่างๆที่เคยทำให้เกิด ปัญหาในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา

และอีกประเด็นหนึ่งที่ น่าสนใจยิ่ง คือ การที่บัญญัติให้ศาลยุติธรรมมีบทบาททางการเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม

ซึ่ง แท้จริงแล้วอำนาจตุลาการและอำนาจบริหาร รวมถึงอำนาจนิติบัญญัติ ควรแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิงหรือควรสัมพันธ์กันให้น้อยที่สุด

โดย ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ บัญญัติให้ศาลยุติธรรมีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองทั้งทางตรงและทาง อ้อม ดังนั้

1.มีบทบาทในการสรรหาบุคคลเพื่อเข้า รับตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ

1) การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา

มาตรา 107 ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ...ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษา ศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมายจำนวนหนึ่งคน และตุลาการในศาลปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดมอบ... ...ทำหน้าที่สรรหาบุคคลตามมาตรา ๑๐๘...

  • การ ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ศาลยุติธรรม(เกี่ยวเนื่องด้วยศาลฎีกาและศาลปกครอง สูงสุด) เป็นคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา อาจจะทำให้ศาลยุติธรรมซึ่งอยู่ในคณะกรรมการสรรหาชุดดังกล่าวเกิดความสุ่ม เสี่ยงที่จะทำให้ประชาชนคลางแคลงใจก็เป็นได้ ทั้งนี้เนื่องจากสมาชิกวุฒิสภาสามารถให้คุณให้โทษแก่ศาลยุติธรรมได้(กล่าว อ้างถึง มาตรา 206 (2))

2) การสรรหาองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

มาตรา 226 การสรรหาและการเลือกประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ให้ดำเนินการดังนี้

(๑) ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งจำนวนห้าคน ซึ่งประกอบด้วย ...ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด...

(๒) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้มี คุณสมบัติตามมาตรา ๒๒๕ ซึ่งสมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้งจำนวนสองคน เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้นั้น

(๓) ...ในกรณีที่มีเหตุที่ทำให้ไม่อาจดำเนินการสรรหาได้ภายในเวลา ที่กำหนดหรือไม่อาจสรรหาได้ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดตาม (๑) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาแทนจนครบจำนวนภายในสิบห้าวันนับแต่วัน ที่ครบกำหนดตาม (๑)

มาตรา 236 การสรรหาและ การเลือกผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ...ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วย... ...ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด...

มาตรา 239 วรรคสาม ...องค์ประกอบของคณะกรรมการ สรรหาให้เป็นไปตามมาตรา ๒๓๖

มาตรา 245 วรรคสี่ ...องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาให้เป็นไปตามมาตรา ๒๓๖

มาตรา 247 วรรคห้า ...องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาให้เป็นไปตามมาตรา ๒๓๖

  • ตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะเห็นได้ว่าศาลยุติธรรมมีบทบาทอย่างยิ่งในการสรรหาบุคคลเข้ารับตำแหน่งใน องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และเนื่องจากองค์กรอิสระเหล่านี้คือเครื่องมือตรวจสอบการบริหาราชการแผ่นดิน ของรัฐบาลและการปฏิบัติหน้าที่ของราชการ ดังนั้นจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าศาลยุติธรรมจะพิจารณา"คนดี"มีความรู้มารับ ใช้ประเทศชาติ แม้ว่าบทบัญญัตอแห่งรัฐธรรมนูญจะบัญญัติให้มีการลงมติในการสรรหาบุคคลเข้า สู่องค์กรอิสระต่างๆซึ่งอาจจะเกิดปัยหาเรื่องการ Lock Vote ตามมา แต่เสียงของศาลยุติธรรมควรจะเป็นเสียงสะท้อนที่ดังที่สุดที่ประชาชนไว้วางใจ ที่สุด

2. การตรวจสอบองค์กรอิสระ

1) การตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง ชาติ

มาตรา 242 วรรคสอง คำร้องขอตามวรรคหนึ่งต้องระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว กระทำการตามวรรคหนึ่งเป็นข้อๆ ให้ชัดเจน และให้ยื่นต่อประธานวุฒิสภา เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับคำร้องแล้วให้ส่งคำร้องดังกล่าวไป ยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อพิจารณาพิพากษา

2) การตรวจสอบทรัพย์สิน

มาตรา 253 วรรคสอง ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งผู้ใดมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิด ปกติห้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติส่งเอกสารทั้งหมดที่มีอยู่พร้อมทั้งรายงานผลการตรวจสอบไปยังอัยการ สูงสุดเพื่อดำเนินคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ ทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกตินั้นตกเป็นของแผ่นดินต่อไปและให้นำบทบัญญัติ มาตรา ๒๖๓ วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 254 วรรคสอง เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้คณะ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดี อาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยชี้ขาดต่อไปและเมื่อศาล ฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม และผู้นั้นต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลฎีกาแผนกคดี อาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัย

  • องค์กรอิสระหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมักจะมีเสียงท้วง ติงจากประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้นศาลยุติธรรมจึงควรเป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบและวินิจฉัยเพื่อนำมาซึ่ง ความสุขสงบของประชาชน

3. อำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยเกี่ยวกับการเลือกตั้ง

มาตรา 214 วรรคสาม ให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณา และวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและ การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น...

มาตรา 233 วรรคหนึ่ง ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยให้ มีการเลือกตั้งใหม่ หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนการประกาศผลเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่ออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ การเลือกตั้งได้

  • จากสภาวะการณ์ที่ ผ่านมาในรอบ 4-5 ปีหลัง ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาในห้วงเวลาดังกล่าว มีเสียงวิพากวิจารณ์จากประชาชนอย่างมากมายในการปฏิบัติหน้าที่ของคระกรรมการ การเลือกตั้ง ดังนั้นศาลยุติธรรมจึงสมควรมีส่วนอย่างยิ่งที่จะเป็นตัวชี้วัดการทำงานของ คณะกรรมการการเลือกตั้งทั้งระดับจังหวัดและส่วนกลาง

4. อำนาจหน้าที่อื่นๆ ตามบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ

มาตรา 68 วรรคสอง ในกรณีที่ประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤติ เหตุการณ์คับขัน หรือเกิดสถานการณ์จำเป็นอย่างยิ่งในทางการเมือง ให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด และประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาหาทางป้องกันหรือแก้ไขปัญหาดังกล่าว

  • มาตรานี้ คือ ประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงกันมากที่สุดในขณะนี้ ดังนั้นจึงต้องติดตามว่าเมื่อ"ประเทศตกอยู่ใน ภาวะวิกฤติ" บทบัญญัตินี้จะสามารถนำมาใช้ได้จริงหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น